วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

16382-208-40 พัฒนาการของมนุษย์


พัฒนาการของมนุษย์

พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือการเจริญงอกงาม ทั้งในโครงสร้าง (Structure) และแบบแผน (Pattern) ของอินทรีย์ทุกส่วน มนุษย์ทุกคนต้องผ่านขั้นตอนของพัฒนาการตลอดชีวิต ดังนั้นเรื่องพัฒนาการจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่นักจิตวิทยาให้ความสนใจศึกษา

องค์ประกอบที่มีผลต่อพัฒนาการของมนุษย์ คือ
1. พันธุกรรม (Heredity)
2. วุฒิภาวะ (Maturation)
3. การเรียนรู้ (Learning)
4. สิ่งแวดล้อม (Environment)

1. พันธุกรรม คือ ลักษณะต่าง ๆ ทั้งทางกายและทางพฤติกรรมที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน การถ่ายทอดนี้ผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่ ลักษณะต่าง ๆ จากพ่อและแม่จะถ่ายทอดไปสู่ลูกโดยทางเซลล์สืบพันธุ์นี้ ซึ่งเรียกว่า โครโมโซม (Chromosome) สำหรับมนุษย์จะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 ตัวมีอยู่คู่หนึ่งที่ทำหน้าที่กำหนดเพศหญิงหรือเพศชาย

อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อมนุษย์คือ เป็นตัวกำหนดเพศ รูปร่าง ชนิดของโลหิต สีผม ผิว ตา และระดับสติปัญญาเป็นต้น นักจิตวิทยาหลายคน เช่น แอนนาตาซี (Anastasi) ได้กล่าวว่าพันธุกรรมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยีน (Gene) ที่แตกต่างจะเป็นตัวกำหนดให้แต่ละบุคคลมีพัฒนาการที่แตกต่างกันส่วนใหญ่แล้วพันธุกรรมจะมีผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายมากที่สุด

2. วุฒิภาวะ เป็นกระบวนการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของบุคคลโดยไม่ต้องอาศัยการฝึกหัดหรือประสบการณ์ใด ๆ เช่น การยืน การเดิน การวิ่ง การเปล่งเสียง ซึ่งเป็นพื้นฐานตามธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นไปตามปกติเมื่อถึงวัยที่สามารถจะกระทำได้

3. การเรียนรู้ เป็นพัฒนาการที่เกิดจากประสบการณ์และการฝึกหัด หรือความสามารถทางทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องอาศัยประสบการณ์และการฝึกหัดเป็นพื้นฐานสำคัญ ดังนั้นนักจิตวิทยาที่สนใจเรื่องการเรียนรู้ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องความพร้อม (Readiness) ว่าเป็นสิ่งสนับสนุนในเรื่องการเรียนรู้เป็นอย่างมาก จากการศึกษาเรื่องความพร้อมนักจิตวิทยาได้บ่งแนวความคิดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
3.1 ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Readiness Approach) กลุ่มนี้มีความเห็นว่า ความพร้อมของบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อถึงวัยหรือเมื่อถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงเห็นว่าการทำอะไรก็ตามไม่ควรจะเป็น "การเร่ง" เพราะการเร่งจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น ตรงกันข้ามอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ความท้อถอย และความเบื่อหน่าย เป็นต้น
3.2 ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น (Guided Experience Approach) กลุ่มนี้มีความเห็นตรงข้ามกับกลุ่มแรก คือ เห็นว่า ความพร้อมนั้นสามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้ โดยการกระตุ้น การแนะนำ การจัดประสบการณ์อันจะก่อให้เกิดเป็นความพร้อม ได้โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็ก ซึ่งจะเป็นวัยที่มีช่วงวิกฤติ (Critical Period) ของการเรียนรู้และการปรับตัว เป็นอย่างมาก

4. สิ่งแวดล้อม ได้แก่ สิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้น ๆ ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมยังหมายรวมถึงระบบและโครงสร้างต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น ระบบครอบครัว ระบบสังคม ระบบวัฒนธรรม เป็นต้น

การแบ่งพัฒนาการของมนุษย์
พัฒนาการของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ ๆ คือ
1. พัฒนาการทางกาย เป็นการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตามขั้นตอนในแต่ละวัย
2. พัฒนาการทางด้านความคิดหรือสติปัญญา (Cognitive Development) ของเพียเจท์
3. พัฒนาการทางด้านจิตใจ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น
3.1 พัฒนาการทางด้านจิตใจ - เพศ (Psychosexual Development) ของฟรอยด์ (Freud)
3.2 พัฒนาการทางด้านจิตใจ - สังคม (Psychosocial Development) ของอีริคสัน (Erikson)
4. พัฒนาการทางด้านจริยธรรม (Moral Devlopment) ของโคลเบิร์ก (Kohlberg)

พัฒนาการด้านต่างๆ ในแต่ละช่วงวัย
พัฒนาการด้านต่างๆ ในแต่ละช่วงวัยของมนุษย์นั้นโดยทั่วไปมี 5 ช่วงคือ วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยชราดังจะอธิบายเรื่องแรกคือกระบวนการพัฒนาการภายในครรภ์เพื่อนักศึกษาจะได้เข้าใจในพัฒนาการขั้นต่อๆ ไป

กระบวนการพัฒนาการภายในครรภ์

ระยะไข่ ( Ovum )
ไข่ที่มีการปฎิสนธิเป็นขั้นแรกเรียกว่า Fertilized ovum โดยมีมดลูก ( Uterus )เป็นอวัยวะที่อยู่ด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะ มดลูกติดต่อกับท่อนำไข่ เมื่อถึงวัยสาว ไอโอไซด์ระยะแรกหนึ่งเซลล์จะเริ่มเกิด เปลี่ยนแปลง โดยการแบ่งเซลล์แบบ ไมโอซิส ครั้งที่ 1 กลายเป็น ไอโอไซด์ระยะที่ 2 ซึ่งจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและค่อย ๆ เคลื่อนมาที่ผิวของรังไข่ในระยะนี้ฟอลลิเคิลจะสร้างฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้น เมื่อเซลล์ไข่ในฟอลลิเคิลเจริญเต็มที่แล้ว ผนังฟอลลิเคิล จะแตกออก ทำให้เซลล์ไข่หลุดออกมา และเซลล์ไข่ที่ตกออกมาจากรังไข่จะเข้าไปในปีกมดลูก เซลล์ไข่ที่ตกออกมาจากรังไข่นี้ยังเป็น ไอโอไซด์ระยะที่ 2 อยู่ ส่วนเซลล์ที่เป็นฟอลลิเคิลก็จะกลายเป็นเนื้อเยื้อสีเหลืองเรียกว่า คอร์ปัสสูเทียม (Corpus Iuteum) เมื่อเซลล์ไข่นี้ได้รับการผสมกับอสุจิที่ท่อนำไข่ ก็จะได้ไซโกด (Zygote) ซึ่งจะพัฒนาเป็น เอ็มบริโอ (embryo) ต่อไปเอ็นบริโอ จะเคลื่อนที่มาฝังอยู่กับผนังของมดลูก ( Uterine wall ) ในขณะเดียวกัน คอร์ปัสลูเทียมจะสร้างฮอร์โมน ซี่งจะทำงานร่วมกับฮอร์โมน จากฟอลลิเคิล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผนังมดลูก ด้านใน หรือ เอนโดมีเทรียมให้หนาขึ้น และมีเส้นฝอยมากขึ้น ถ้าหากเซลล์ไข่ไม่ถูกผสมคอร์ปัสลูเทียมจะสลายตัวภายในเวลาสองสัปดาห์ และหยุดสร้างฮอร์โมนทำให้เกิดสลายตัวของ เนื้อเยื่อเอนโดมีเทรียม ซึ่งมีเส้นเลือดฝอยอยู่เป็นจำนวนมาก แล้วขับออกมาจากมดลูกเป็นผลให้มีรอบประจำเดือนใหม่

ระยะตัวอ่อน ( Embryo )
ระยะ 2 สัปดาห์แรก เราเรียก Zygote ว่า Ovum เป็นระยะที่เซลล์มีการแบ่งตัวไปในลักษณะเดียวกันหมด และแบ่งทุกทิศทุกทาง ไม่ได้มีการแบ่งเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ถัดจากระยะ Ovum ก็มาถึงระยะ Embryo ระยะนี้จะเกิดเวลา 6 สัปดาห์ และสิ้นสุดเมื่ออายุได้ 2 เดือน ระยะนี้เซลล์เริ่มแบ่งแยก (differentiate) และแจกแจงหน้าที่ไปตามตำแหน่งที่เซลล์ นั้นอยู่ และการเปลี่ยนแปลงของสารชีวเคมีในตัวเซลล์เอง ทำให้เซลล์พร้อมที่จะรับหน้าที่เจริญเติบโตออกไปเป็นอวัยวะต่าง ๆ ทั่วตัวเรา การแบ่งแยกนี้จะแบ่งเนื้อเยื่อออกเป็น 3 ชั้น คือ
1. ชั้นในสุด (Endoderm) ชั้นนี้จะเจริญเติบโตต่อไปเป็นอวัยวะย่อยอาหาร คือ กระเพาะ ลำไส ปอด หัวใจ เป็นต้น
2. ชั้นกลาง (Mesoderm) ชั้นนี้จะเจริญเป็นกล้ามเนื้อ กระดูก เลือด เส้นเลือด
3. ชั้นนอกสุด (Ectoderm) ชั้นนี้จะเจริญเป็นผิวหนัง อวัยวะรับสัมผัส (sense organ) และระบบประสาท

ทารกย่างเข้าสู่เดือนที่ 3 ถึงคลอด เราเรียกระยะนี้ว่า Fetus ทารกในครรภ์จะเจริญขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นเวลาประมาณ 9 เดือนหรือ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน จึงจะคลอดออกจากครรภ์มารดามาสู่โลกภายนอก

ระยะ Embryo นี้มีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก จึงเรียกระยะนี้ว่า เป็นระยะวิกฤติ (Criitical perod) ในระยะนี้ถ้ามารดาของเด็กเกิดเป็นโรคขึ้นในขณะที่ทารกยังอยู่ในครรภ์จะมีผลต่อทารกอย่างมาก และก่อให้เกิดอันตรายแก่มารดา หรือสร้างความพิกลพิการในรูปต่างๆ ให้แก่ทารก ทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการต้องหยุดชะงักหรือไม่สมบูรณ์ เมื่อเด็กคลอดออกมาอาจเสียชีวิต หรือเป็นเด็กปัญญาอ่อน หรือร่างกายไม่สมประกอบดังนั้น มารดาจะต้องระมัดระวังไม่ให้ป่วยไข้ด้วยโรคต่างๆ เพราะจะกระทบกระเทือนถึงทารกในครรภ์ด้วย เช่น ถ้ามารดาเป็นโรคหัวใจพิการหรือมีอาการหูหนวกได้

ระยะฟิตุส (Fetus)
มีอายุประมาณ 2 เดือน หลังจากการผสมของไข่ไปจนคลอดในช่วงนี้จะพัฒนาในส่วนที่เพิ่มความสมบูรณ์ให้กับส่วน ของร่างกาย เป็นระยะที่เพิ่มความยาวให้กับลำตัว

ระยะทารก
นีโอเนท (NEONATEO) ชีวิตในระยะเดือนแรกหลังจากคลอดออกมานั้น เราให้ชื่อว่าระยะ นีโอเนทตามปกติเรามักจะจัดลำดับพัฒนาการของมนุษย์ตามวัย ตั้งแต่ระยะหลังเกิด ช่วงชีวิตของมนุษย์อาจแบ่งได้เป็น 5 ระยะใหญ่ ๆ คือ วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยชรา โดยถือว่าแต่ละวัยเหล่านี้ มีลักษณะพัฒนาการเฉพาะวัยแตกต่างจากวัยอื่น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น