วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

16198-204-31 คุณธรรม จริยธรรม

คุณธรรม ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ให้ความหมายไว้ว่า น.สภาพคุณงามความดี
จริยธรรม น.ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม
 

ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้ให้ความหมายคำทั้งสองคำนี้ไว้ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ ว่า
คุณธรรม : ธรรมที่เป็นคุณ, ความดีงาม, สภาพที่เกื้อกูล
จริยธรรม : ธรรมคือความประพฤติ, ธรรมคือการดำเนินชีวิต, หลักความประพฤติ, หลักการดำเนินชีวิต
 

     สรุปว่า คุณธรรม คือความดีงามในจิต เช่น ความเมตตา ความซื่อสัตย์ เป็นต้น มีผลทำให้จิตอยู่ในภาวะที่ดีงาม และพร้อมที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์
ส่วนจริยธรรม : คือการกระทำที่แสดงออกทางกาย วาจา เช่น เมื่อมีเมตตากรุณาก็ลงมือช่วยเหลือผู้อื่นหรือเมื่อมีความซื่อสัตย์ก็ตั้งมั่นอยู่ในศีล ๕ ไม่ลักขโมย ไม่โกหก เป็นต้น
ทั้งคุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลักธรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องสนับสนุนกันและกัน คนที่มีคุณธรรมสูงคือจิตใจทรงคุณธรรม ย่อมจะประพฤติปฏิบัติสิ่งใด ๆ ในลักษณะของการมีจริยธรรมสูงด้วย
เพื่อจำง่าย : คุณธรรม เป็นลักษณะความรู้สึกนึกคิดที่ดีทางจิตใจ
จริยธรรม เป็นลักษณะการแสดงออกทางความประพฤติ
คำสองคำนี้มีความเป็นมาอย่างไร ?
คุณธรรมและจริยธรรมของคนในสังคมหรือของสังคมหนึ่ง ๆ มีรากฐานมาจากศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และความเห็นพ้องต้องกันของคนในสังคมนั้น แต่ละยุค แต่ละสมัย คุณธรรมและจริยธรรมของคนในสังคมหนึ่ง ๆ จึงมีวิวัฒนาการ คือเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น