วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

16384-208-42 ประตูเมืองเชียงใหม่


ประตูเมืองเชียงใหม่
     ประตูเมืองเชียงใหม่มีหลายประตู หากจะเรียกตาม ประตูเมืองที่เจาะตามกำแพง เมืองชั้นใน ก็มี ๕ ประตู คือ
     ๑.  ประตูท้ายเวียง หรือ ประตูเชียงใหม่ อยู่ทางทิศใต้ ในอดีตเป็นเส้นทางสำคัญระหว่างเชียงใหม่ไปเวียงกุมกามและลำพูน ในสมัยราชวงศ์มังราย (พ.ศ. ๑๘๐๔ - ๒๑๐๑) ทั้งเชียงใหม่ กุมกามและลำพูนตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำปิงเช่นเดียว กัน การเดินทางจึงไม่ต้องข้ามแม่น้ำปิง ประตูนี้เป็นประตูนาม เมือง จึงห้ามไม่ให้เอาศพผ่าน ออกประตูนี้ ถือว่าอาถรรพณ์




     ๒. ประตูหัวเวียง หรือ ประตูช้างเผือก อยู่ทางทิศเหนือของเมืองถือว่าเป็นประตูมงคล ในพิธีราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่จะเสด็จเข้ามาที่ประตูนี้ ประตูหัวเวียงเปลี่ยนชื่อมาเป็น ประตูช้างเผือกเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๓ เมื่อพญาแสนเมืองมาได้สร้างอนุสาวรีย์ช้างเผือก 2 เชือกเป็นอนุสรณ์แก่มหาดเล็ก ๒ คนที่ช่วยพระองค์ให้รอดพ้นจากภัยสงคราม แต่เดิมรูปปั้นช้างเผือกทั้ง ๒ เชือกอยู่ริมถนนโชตนาด้านละเชือก สำหรับรูปปั้นช้างเผือกที่ตั้งในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ

      ๓. ประตูสวนดอก อยู่ทางทิศตะวันตก ที่เรียกว่าประตูสวนดอก เพราะเป็นประตูที่ผ่าน ไปยังสวนดอกไม้ของพระเจ้ากือนา ซึ่งสร้างเป็นพระอารามใน พ.ศ.๑๙๑๔ เพื่อประดิษ ฐานพระสารีริกธาตุที่พระสุมนเถรนำมาจากกรุงสุโขทัย ตำนานสุวรรณคำแดงว่า เวียง สวนดอกนี้มีมาตั้งแต่ครั้งพวกลัวะตั้งถิ่นฐานอยู่แล้ว เวียงสวนดอกเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยังมีซากแนวกำแพงเมืองอยู่ หากมีแผนที่หรือภาพถ่ายทางอากาศจะมองเห็นได้ชัดเจน

      ๔. ประตูสวนปุง ตั้งอยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ใกล้กับประตูเชียงใหม่ คือเฉพาะกำแพงเมืองด้านใต้เท่านั้นที่มีสองประตู ประตูนี้สันนิษฐานอาจเจาะภายหลังคือไม่ได้สร้างพร้อมกับสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ อย่างไรก็ตามยังไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึงการเจาะประตูนี้ หลักฐานตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงประตูแสนปุงครั้งแรกสมัยมหาเทวีจิรประภา พ.ศ. ๒๐๘๘ "...ชาวใต้มาปล่นเอาปะตูแสนปุง บ่ได้..." สันนิษฐานที่ชื่อ แสนปุง เพราะเป็นทางออกไปสู่บริเวณที่มีเตาปุง (เตาไฟ) มากมาย เพราะด้านนอกประตูเป็นที่อยู่ของกลุ่มช่างหลอมโลหะจึงมีเตาปุงไว้ หลอมโลหะจำนวนมากเปรียบนับแสน ปัจจุบันยังมีบ้านช่างหล่อพระพุทธรูปอาศัย อยู่ และถนนเลียบคูเมืองด้านนี้ชื่อถนนช่างหล่อจากความเชื่อเรื่องทิศและพื้นที่ถือเป็นเขตกาลกิณี จึงกำหนดให้ประตูแสนปุงเป็นทางออกไปสุสาน
ห้ามมิให้นำศพออกทางประตูอื่น ออกได้ประตูเดียวคือ ประตูแสนปุง

      ๕. ประตูเชียงเรือก หรือ ประตูท่าแพ (ชั้นใน)
ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของกำแพงเมืองชั้นใน มีบ้านเชียงเรือกตั้งอยู่บริเวณนอกกำแพงเมือง เดิมบ้านเชียงเรือกเป็นชุมชนค้าขายเพราะเป็นที่ตั้งของตลาดเชียงเรือก ตลาดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเชียงใหม่ คาดว่ามีประชากรหนาแน่น ซึ่งมีหลักฐานกล่าวถึงสมัยพญาแก้วเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเชียงเรือกมีคนจมน้ำ ตายเป็นจำนวนมาก ในสมัยพระเจ้าอินทวิชายานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๑๖ - ๒๔๔๐) ชื่อประตูเชียงเรือก เปลี่ยนมาเป็นประตูท่าแพชั้นในเพื่อให้คู่กับประตูท่าแพชั้นนอก ซึ่งอยู่บนถนนสายเดียวกัน ชื่อประตูท่าแพ หมายถึงประตูชั้นนอกตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดแสนฝาง ต่อมาบ้านเรือนขยายตัวประตูท่าแพชั้นนอกได้สลายไปเหลือแต่ประตูท่าแพชั้นใน ชาวบ้านจึงเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า ประตูท่าแพ สำหรับประตูท่าแพในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๒๙ โดยอาศัยภาพถ่ายเก่าประตูเมืองเชียงใหม่ประตูหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕
ประตู เมืองทั้ง ๕ ประตูนี้ เป็นประตูเมืองในกำแพงชั้นใน และยังมีกำแพงเมืองชั้น นอกอีก คือกำแพงมูลดินที่เรียกกันว่ากำแพงดิน ที่แนวกำแพงเมืองผ่านไปทางริมคลอง แม่ข่า บ้านระแกง หรือประตูระแกง อ้อมไปทางประตูขัวก้อม จนถึงประตูไหยาหรือประตู หายยา ซึ่งเป็นกำแพงเมืองชั้นนอก นอกจากยังมีประตูศรีภูมิ และประตูช้างคลานอีกด้วย แต่ประตูดังกล่าวนี้ บางแห่งก็เหลือแต่ชื่อเท่านั้น ตัวประตูถูกทำลายไปเสียแล้ว และอีกไม่นานนัก เข้าใจว่าเราอาจจะหาที่ตั้งประตูเมืองเหล่านี้ไม่พบแน่นอน เพราะนับวันก็ถูก ทำลายไปหมด เช่น ตามกำแพงดินจะเห็นได้ว่า ถูกทำลายโดยขุดเอามูลดินไปขาย แล้ว สร้างบ้านเรือนขึ้นแทนหลายแห่งแล้ว เกี่ยวกับกำแพงเมืองชั้นนอก หรือกำแพงดินนี้
ตามที่มีผู้รู้กล่าว ไว้ว่า เจ้าพระยาโกษา (เหล็ก) ซึ่งเป็นแม่ทัพใหญ่ยกกองทัพมาตีเมือง เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๒๐๔ ได้สร้างกำแพงเมืองชี่นนอกขึ้นนั้น อาจจะไม่ถูกต้อง เพราะ กองทัพไทยที่ยกมาครั้งนั้นมาตั้งอยู่ไม่นานนัก คงไม่สามารถจะสร้างได้สำเร็จ อีกประการ หนึ่ง คูเมืองก็อยู่ทางด้านนอก ซึ่งหากกองทัพไทยขุดคูจะต้องอยู่ทางด้านใน และในตำนาน โยนกก็กล่าวไว้ว่า เมื่อเกิดศึกพระยาเบิกยกมาชิงเมืองคืน เมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙ - ๑๘๔๐ พระ เจ้าเม็งรายให้ขุดคูรั้งหน่างชักปีกามาต่อเมืองเชียงใหม่ ถึงหัวตลาดเมืองเชียงใหม่ด้าน ตะวันตก ฝ่ายทางตะวันออกมาเอาแม่น้ำพิงค์เป็นคูเมืองให้รักษาเมืองทั้งสอง คือ เวียง เชียงใหม่และเวียงกุมกามไว้มิให้ข้าศึกโจมตี

ข้อสังเกตอีก ประการหนึ่ง คือ พระเจ้าเม็งรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่เป็น ๒ ครั้ง คือครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๑๘๓๕ พระองค์จะทรงสร้างเมืองโดยวัดจากชัยภูมิไปด้านละ ๑,๐๐๐ วา เป็น ๒,๐๐๐ วา ซึ่งพระองค์อาจจะขุดคูกำแพงเมืองทางด้านตะวันออกอ้อมไปทางทิศ ตะวันตก ซึ่งมีแนวกำแพงเมืองไปจนจรดป้อมประตูไหยา และมีแนวกำแพงต่อมา ผ่าน โรงพยาบาลโรคจิต (โรงยาสวนปรุง) จนจรดแจ่งกู่เฮือง ครั้งต่อมาเมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙ พระ องค์ทรงให้อัญเชิญพระสหายทั้งสองคือ พระยาร่วงและพระยางำเมือง มาปรึกษาในการ สร้างเมือง พระยาทั้งสองทักท้วงไว้ให้ลดความกว้างลง พระยาเม็งรายก็ทรงทำตาม โดยลด ความกว้างลงเหลือเพียงด้านละ ๑,๐๐๐ วา ซึ่งตัวเมืองที่ลดลงนี้ อาจเป็นตัวเมืองที่เป็น รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสนี้ก็เป็นได้
เกี่ยวกับ กำแพงเมืองเชียงใหม่ ปรากฏในตำนานโยนกว่า ได้มีการบูรณะซ่อมแซมและเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง คือ ในรัชสมัยของพระเมืองแก้ว รัชกาลที่ ๑๓ ราชวงศ์เม็งครองราชย์ พ.ศ.๒๐๓๘ - ๒๐๖๐ ก็มีการบูรณะครั้งหนึ่ง และต่อ มาในสมัยของพระยากาวะละ (พระเจ้าบรมราชาธิบดี ฯ) ก็มีการบูรณะอีกครั้งหนึ่ง สำหรับ ป้อมประตูเมืองชั้นนอก ที่ยังไม่ถูกทำลายไปหมดยังพอจะศึกษาได้ ก็ยังมี ป้อมประตูขัว ก้อม ซึ่งขณะนี้กำลังถูกทำลายไปบ้างแล้ว หากทางกรมศิลปากรหรือคณะกรรมการอนุรักษ์ ศิลปกรรมไม่ยื่นมือเข้าไปเกี่ยวข้องแล้ว อีกไม่นานนักก็จะเป็นเช่นเดียวกับกำแพงเมือง หรือป้อมประตูอื่น ๆ คือถูกทำลาย เพื่อการพัฒนาสร้างความเจริญให้แก่บ้านเมืองตาม คำพูดของนักพัฒนา ที่มองข้ามคุณประโยชน์ของอิฐหัก ๆ เหล่านี้อย่างน่าเสียดาย และอีกป้อมหนึ่งคือป้อมไหยา ท่านที่สนใจอาจจะไปชมได้ก่อนที่จะถูกทำลายไปเสียก่อน
สี่มุมเมือง
คำ ว่า "แจ่ง" ของทางเมืองเหนือ หมายถึง "มุม" อย่างคำว่า "สี่แจ่งเวียง" ก็คือ "สี่มุมเมือง" ตามกำแพงเมืองชั้นใน มี ๔ มุมเมือง มีชื่อเรียกดังนี้

๑. แจ่งศรีภูมิ คือมุมที่เป็นศรีแห่งนคร อยู่ทางทิศอีสานของชัยภูมิเมือง เมื่อพระเจ้าเม็ง-รายสร้างเมืองเชียงใหม่ โปรดให้ขุดคูก่อกำแพงเมืองทางด้านนี้ก่อนแล้ววนไปทางทิศใต้ เวียนไปทางทิศตะวันตก ทางทิศเหนือ จนมาบรรจบแจ่งศรีภูมิ

๒. แจ่งขะต๊ำ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ยังไม่ทราบความหมายของคำว่า "ขะต๊ำ" แน่ชัด คำว่า "ขะต๊ำ" เป็นเครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง อาจเป็นเพราะมุมเมืองด้านนี้อยู่ต่ำสุด จะสังเกตเห็นได้จากน้ำในคูเมืองที่มุมเมืองด้านนี้จะมีน้ำเต็มปริ่มอยู่เสมอ และอาจมีปลา ชุกชุมมีคนเอา "ขะต๊ำ"มาดักปลามากมาย จึงเลยเรียกกันว่า "แจ่งขะต๊ำ" ก็ได้ ทั้งนี้เป็น เพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น

๓. แจ่งกู่เฮือง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตรงข้ามโรงพยาบาลโรคจิต (สวนปุง) ตาม ตำนานโยนกกล่าวว่า เจ้าขุนเครืออนุชาของเจ้าสงครามคิดกบฎ ชิงเอาราชสมบัติเมือง เชียงใหม่จากเจ้าท้าวแสนภูพระนัดดาซึ่งครองเมืองเชียงใหม่อยู่ เจ้าแสนภูไม่ต่อสู้แต่หนี ไปยังเมืองเชียงราย เช้าชัยสงครามพระเชษฐาซึ่งครองเมืองเชียงรายอยู่ทรงพิโรธ จึงให้ เจ้าน้ำท่วมอนุชาของเจ้าแสนภูยกกองทัพมาปราบปรามเจ้าขุนเครือ เจ้าน้ำท่วมจับเจ้า อาว์ได้ จึงแจ้งข้อราชการให้เจ้าชัยสงครามพระราชบิดาทรงทราบ เจ้าชัยสงครามให้เอา เจ้าขุนเครือไปกักขังไว้ที่มุมเมืองด้านนี้ และให้หมื่นเรืองเป็นผู้รักษาควบคุม ต่อมาหมื่น เรืองถึงแก่กรรม ได้สร้างกู่บรรจุอัฐไว้ทางมุมเมืองด้านนี้ จึงเรียกว่าแจ่งกู่เฮืองมาตราบทุกวันนี้


๔. แจ่งหัวลิน อยู่ทางมุมเมืองทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ มีถนนสายห้วยแก้วผ่าน คำว่า "ลิน" หมายถึงรางน้ำ แจ่งหัวลิน หมายถึงมุมเมืองที่เป็นต้นร่องน้ำที่ไหลเข้าไปหล่อ เลี้ยงตัวเมือง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น