วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

16429-209-42 อริยสัจ 4


อริยสัจ 4
มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ความดับทุกข์ และหนทางไปสู่ ความดับทุกข์ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4
1.               ทุกข์
คือ การมีอยู่ของทุกขื เกิด แก เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความโศกเศร้า ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์
ทุกข์ : ธรรมที่ควรรู้ มีดังนี้
โลกธรรม 8
          ความหมาย โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องธรรมดาของโลกที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ หรือสิ่งที่ครอบงำมนุษย์ 8 ประการ
สาระสำคัญของโลกธรรม 8 สรุปดังนี้
          โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ (มนุษย์พอใจ)              
          1. ได้ลาภ                
          2. ได้ยศ
          3. มีสรรเสริญ           
          4. มีสุข 
          โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ (มนุษย์พอใจ)
          1. เสื่อมลาภ             
          2. เสื่อมยศ
          3. มีนินทา                
          4. มีทุกข์
2.               สมุทัย
คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห้นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง
สมุทัย   ธรรมที่ควรละ มีดังนี้
กรรมนิกาย
                กรรมนิกาย คือ กฎแห่งการกระทำของมนุษย์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "กฎแห่งกรรม"ซึ่งชาวพุทธมักสรุปหลักคำสอนเรื่องนี้ว่า "ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว"
กรรม 12
          กรรม 12 คือ กรรมที่จำแนกตามผลที่ได้รับ มี 12 ประเภท ดังนี้
          1. กรรมที่ให้ผลตามกาลเวลา 4 กรรม ได้แก่ กรรมที่ให้ผลในชาตินี้ กรรมที่ให้ผลชาติหน้า กรรมที่ให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป และกรรมที่เลิกผล (อโหสิกรรม)
2. กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่ 4 กรรม ได้แก่ กรรมที่ชักนำให้เกิด กรรมสนับสนุน กรรมตัดรอน  และกรรมบีบคั้น
          3.  กรรมที่ให้ผลตามลำดับความแรง 4 กรรม ได้แก่ กรรมหนัก กรรมที่ทำบ่อย ๆ จนเคยชินกรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย และกรรมสักแต่ว่าทำ (ไม่มีเจตนา)
มิจฉาวณิชชา 5
          มิจฉาวณิชชา 5 หมายถึง การค้าขายที่ผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม 5 อย่างที่ชาวพุทธต้องละเว้นหรือไม่ควรทำ ได้แก่ การค้ามนุษย์ การค้าอาวุธ การค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร การค้าของมึนเมา และการค้ายาพิษ (สิ่งเสพย์ติด)
3.นิโรธ
คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า ดศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบ และความเบิกบาน
นิโรธ  : ธรรมที่ควรบรรลุ มีดังนี้
วิมุตติ 5
          วิมุตติ หมายถึง การหลุดพ้น ไม่มีความทุกข์ ภาวะที่ไร้กิเลส หรือภาวะที่ทุกข์ดับ (ความหมายเดียวกับคำว่า นิโรธ ) มี 5 ประการ  (เรียกย่อ ๆ ว่า สมถะ วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน ตามลำดับ
          1.  หลุดพ้นด้วยการข่มกิเลส เป็นการระงับกิเลสด้วยการเจริญสมาธิ (สมถะ)
          2.  หลุดพ้นด้วยธรรมที่ตรงกันข้าม เช่น หลุดพ้นจากความโกรธด้วยการให้อภัย หลุดพ้นจากความตระหนี่และความโลภด้วยการให้ทาน และหลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัวด้วยการเสียสละ (วิปัสสนา)
          3.  หลุดพ้นอย่างเด็ดขาด คือ การทำลายกิเลสที่มีอยู่ให้หมดไปด้วยญาณขั้นสูงสุด (มรรค)
          4.  หลุดพ้นอย่างสงบราบคาบ คือ หลุดพ้นเป็นอิสระเพราะกำจัดกิเลสที่ครอบงำได้อย่างราบคาบ (ผล)
          5.  หลุดพ้นจนเกิดภาวะปลอดโปร่ง คือ การเข้าสู่ภาวะนิพพาน

4. มรรค คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำ ไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้

มรรค   ธรรมที่ควรเจริญ มีดังนี้
ปาปณิกธรรม 3
          ปาปณิกธรรม หมายถึง คุณสมบัติของพ่อค้าแม่ค้าที่ดี หรือหลักการค้าขายให้ประสบผลสำเร็จ มี 3 ประการ ดังนี้
          1. ตาดี (จักขุมา) คือ รู้ลักษณะของสินค้าที่ดีมีคุณภาพ รู้ต้นทุน กำหนดราคาขายและคำนวณผลกำไรได้ถูกต้อง
          2. ชำนาญธุรกิจ (วิธูโร) คือ รู้จักแหล่งซื้อขายสินค้า รู้ความเคลื่อนไหวของตลาด และรู้ถึงรสนิยมความชอบและความต้องการของผู้บริโภค
          3. มีเงินทุน (นิสสยสัมปันโน) คือ รู้จักแหล่งกู้เงินมาลงทุนเพื่อมีเงินทุนหมุนเวียน และได้รับความไว้วางใจจากนายทุนเงินกู้
อปริหานิยธรรม 7
          อปริหานิยธรรม แปลว่า ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ธรรมที่ทำให้เกิดความเจริญทั้งส่วนตนและส่วนรวม หรือหลักปฏิบัติที่นำความสุขความเจริญมาสู่หมู่คณะ เป็นหลักธรรมที่เน้นความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ความสามัคคีของหมู่คณะ และการเคารพนับถือซึ่งกันและกัน สรุปได้ดังนี้
          1.  หมั่นประชุมเป็นเนืองนิตย์
          2. พร้อมเพรียงในการประชุม มาประชุม เลิกประชุม และทำภารกิจอื่น ๆ ให้พร้อมกัน
          3.  ไม่บัญญัติสิ่งใหม่ ๆ ตามอำเภอใจ โดยผิดหลักการเดิมที่หมู่คณะวางไว้
          4.  เคารพนับถือผู้มีอาวุโส และรับฟังคำแนะนำจากท่าน
          5.  ไม่ข่มเหงหรือล่วงเกินสตรี
          6.  เคารพสักการะปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ และรูปเคารพต่าง ๆ
          7. ให้ความคุ้มครองพระสงฆ์ผู้ทรงศีลและนักบวชอื่น ๆ ให้อยู่ในชุมชนอย่างปลอดภัย
โภคอาทิยะ 5
          โภคอาทิยะ (หรือโภคาทิยะ) หมายถึง หลักธรรมที่สอนเกี่ยวกับการใช้จ่ายทรัพย์ที่หามาได้หรือแนวทางในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ (ทรัพย์สินสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค)มี 5 ประการ ดังนี้
          1.  ใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงดูตนเอง บิดามารดา และครอบครัว ให้อยู่ดีมีสุข
          2.  ใช้จ่ายเพื่อบำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมงานเป็นครั้งคราว
          3.  ใช้จ่ายเพื่อป้องกันภัยอันตราย หรือเก็บออมไว้ยามเจ็บไข้ได้ป่วย
          4. ใช้จ่ายเพื่อทำพลี 5 อย่าง คือ สงเคราะห์ญาติ,ต้อนรับแขก,บำรุงราชการ (เสียภาษี)บำรุงเทวดา (สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามประเพณีของสังคม) และทำนุบำรุงให้บุพการีผู้ล่วงลับไปแล้ว
          5. ใช้จ่ายเพื่ออุปถัมภ์บำรุงนักบวช พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล และกิจการพระศาสนา
อริยวัฑฒิ 5
          อริยวัฑฒิ หมายถึง หลักปฏิบัติที่นำไปสู่ความเจริญงอกงาม หรือความเป็นอารยชน 
          หรือความเป็นคนดีในอุดมคติ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 5 ประการ ดังนี้
          1.  ศรัทธา (งอกงามด้วยศรัทธา) หมายถึง มีความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อด้วยปัญญาและเหตุผล เช่น เชื่อว่าบุญบาปมีจริง เชื่อในผลของกรรม และเชื่อมั่นในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
          2.  ศีล (งอกงามด้วยศีล) หมายถึง รักษากายและวาจาให้เรียบร้อยเป็นปกติ ในทางปฏิบัติคือการรักษาศีล 5 หรือ ศีล 8 ของชาวพุทธทั่วไป
          3. สุตะ (งอกงามด้วยสุตะ)  หมายถึงความรู้ที่ได้ยินได้ฟัง หรือการศึกษาหาความรู้ด้วยการฟังซึ่งรวมถึงการอ่านหนังสือและใช้สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการแสดงหาความรู้อีกด้วย
          4. จาคะ (งอกงามด้วยจาคะ) หมายถึง รู้จักเสียสละ แบ่งปันสิ่งของให้แก่ผู้อื่น
          5.  ปัญญา (งอกงามด้วยปัญญา) หมายถึง มีความรู้อย่างกว้างขวาง รู้ชัดเจน และรู้จริง เป็นความรู้ทั้งในวิชาชีพ วิชาสามัญ หรือรู้เท่าทันโลก
ทิฏฐธัมิกัตถประโยชน์
          ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ หมายถึง ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน หรือหลักปฏิบัติที่จะอำนวยประโยชน์สุขแก่บุคคลมี 4 ประการ คือ
          1. ความขยันหมั่นเพียร (อุฏฐานสัมปทา) มีความขยันหมั่นเพียรในกิจการงาน
          2.  การเก็บรักษา (อารักขาสัมปทา) หรือประหยัด ใช้จ่ายพอดี รู้จักเก็บรักษาทรัพย์ที่หามาได้
          3.  การคบคนดีเป็นมิตร (กัลยาณมิตร)รู้จักเลือกคบคนดี คนมีคุณธรรม และมีความรู้
          4.  การดำรงชีพที่เหมาะสมพอดีหรือตามกำลังทรัพย์ ไม่ฟุ้งเฟ้อจนเกินฐานะของตน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น