วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

16415-209-28 กุลจิรัฏฐิติธรรม 4



กุลจิรัฏฐิติธรรม  4
กุลจิรัฏฐิติธรรม หมายถึง ธรรมสำหรับดำรงความมั่งคั่งของตระกูลให้ยั่งยืน หรือเหตุที่ทำให้ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ได้นาน ประกอบด้วย
1. นัฎฐคเวสนา หมายถึง ของหายของหมด รู้จักหามาไว้ คือเมื่อมีสิ่งของภายในบ้านสูญหายไป และอยู่ในวิสัยที่จะหามาแทนได้ ก็รู้จักหาวิธีการต่าง ๆ ให้ได้มาซึ่งสิ่งของเหล่านั้น หรือหาสิ่งของอื่น ๆ มาทดแทนไว้ เป็นต้น
2. ชิณณปฏิสังขรณา หมายถึง ของเก่าชำรุด รู้จักบูรณะซ่อมแซม คือการรู้จักบำรุงรักษาและซ่อมแซมสิ่งของที่ชำรุดที่ยังสามารถนำมาใช้ใหม่ได้ หรืออยู่ในสภาพที่ยังสามารถทำงานได้ แต่มีอุปกรณ์บางอย่างชำรุดไป ก็สามารถที่จะซ่อมแซมนำกลับมาใช้ใหม่ได้นอกจากนี้ยังหมายถึงการรู้จักนำสิ่งของที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (recycle)
3. ปริมิตปานโภชนา หมายถึง รู้จักประมาณในการกินการใช้ คือการรู้จักใช้จ่ายทรัพย์สมบัติ รู้จักการประหยัดอดออม รู้จักใช้จ่ายตามฐานะของตนเอง หรือการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับฐานะเป็นต้น
4. อธิปัจจสีลวันตสถาปนา หมายถึง ตั้งผู้มีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน คือผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวจะต้องตั้งอยู่ในหลักของ

ศีลธรรม ทำมาหาเลี้ยงชีพในทางที่สุจริต เว้นจากอบายมุข ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในกาม เป็นต้น บุคคลที่มีศีลธรรมอันดีจะทำให้ครอบครัวสงบสุข
ในทางตรงกันข้ามตระกูลที่มั่งคั่งอยู่ได้ไม่นาน เพราะสาเหตุ 4 ประการคือ
1. ไม่แสวงหาวัสดุที่หายแล้ว คือเมื่อสิ่งของภายในบ้านสูญหายไป แต่อยู่ในวิสัยที่จะหามาแทน กลับไม่ทำ ไม่แสวงหา หากหายไปบ่อย ๆ สิ่งของแม้จะมีมากเพียงใดก็หมดได้ เปรียบกับภูเขาแม้จะใหญ่โตเพียงใด หากเก็บเอาก้อนหินทีละก้อนออกไปทุกวัน ๆ ภูเขาที่ว่าใหญ่นั้นก็จะไม่มีให้เห็น เงินทองหรือสิ่งของก็เช่นกัน หากมีแต่หยิบออกหรือหายไปแม้จะทีละน้อย ๆ แต่ไม่มีการหามาเพิ่มหรือทดแทน ก็จะหมดสิ้นไปในที่สุด
2. ไม่บูรณะวัสดุที่ชำรุดเสียหาย คือ ไม่บำรุงรักษาและซ่อมแซมสิ่งของที่ชำรุด ไม่ดูแลและไม่ใส่ใจกับสิ่งของที่มีอยู่เหล่านั้นให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ทิ้งขว้างละเลยและปล่อยให้เสียหายก่อนเวลาอันสมควร ผลสุดท้ายของที่มีอยู่ก็ใช้การไม่ได้
3. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคทรัพย์สมบัติ คือการจับจ่ายใช้สอยทรัพย์สมบัติมากจนเกินไปโดยไม่คำนึงถึงฐานะของตนเอง เช่น คนที่มีทรัพย์สมบัติมามากและมีรายได้น้อย แต่กลับจับจ่ายใช้สอยเกินกว่าที่ตนมี ที่ตนได้มาทรัพย์สมบัติก็จะไม่มีเหลือและยังจะทำให้มีการก่อหนี้ยืมสินให้เป็นภาระผูกพันตนอีก แม้จะมีทรัพย์สมบัติมากเพียงใดหากไม่รู้จักประมาณในการจับจ่ายใช้สอยแล้วทรัพย์ก็หมดไป คนที่ร่ำรวยก็จะกลับกลายเป็นคนจน คนที่จนอยู่แล้วก็จะกลายเป็นคนสิ้นเนื้อประดาตัวในที่สุด
4. ตั้งสตรีหรือบุรุษผู้ทุศีลให้เป็นแม่บ้านพ่อเรือน คือการแต่งงานกับสตรีหรือบุรุษไม่ดี ซึ่งมักทำลายกฎเกณฑ์ ประพฤติผิดศีลธรรม จริยธรรมเสมอ หรือการไว้วางใจให้สตรีหรือบุรุษเช่นนั้นครอบครองทรัพย์สมบัติ คนเช่นนั้นก็จะมีแต่ผลาญทรัพย์สมบัติให้หมดไป
กุลจิรัฏฐิติธรรม"มี สี่ประการ
ฝากทุกท่าน จดจำ คำขานไข
เพื่อตระกูล ตั้งมั่น อยู่นานไกล
ทั้งจักไม่ เสื่อมสลาย ก่อนเวลา

หนึ่งเมื่อของ ในบ้าน ท่านหายไป
ควรจะได้ สืบเสาะ แสวงหา
สองของชำรุดเก่า เลือกเอามา 
เห็นคุณค่า ซ่อมใช้  ได้หลายปี

สาม
ประมาณ ในด้านการใช้สอย
ต้องค่อยค่อย จ่ายพองาม ตามวิถี
สี่พ่อบ้าน แม่เรือนหวัง ตั้งคนดี 
มอบคนมี ศีลธรรม ประจำใจ

ตระกูลใด ทำครบ สี่ประการ
ย่อมอยู่นาน คงมั่น มิสั่นไหว
เศรษฐกิจ พลิกฟื้น ยืนยาวไกล
ย่อมอำไพ ด้วยธรรมะ สี่ประการ


1. นัฏฐคเวสนา (ของหายของหมด รู้จักหามาไว้)
 นฏฺฐคเวสนา : จัดการแสวงหาของมาไว้ใช้ทดแทนที่หมดไปและหายไป เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ทรัพย์สินหรือสิ่งของเงินทองเมื่อเราใช้ไปย่อมหมดเปลืองหรือเสียหาย โดยสภาพของมันเอง ทุกอย่างจะให้อยู่กับเราตลอดไปย่อมไม่ได้ ข้อสำคัญในเรื่องนี้เป็นประเด็นทางเศรษฐกิจกล่าวคือ เราไม่ควรดูดายโดยนิสัยมักง่ายในสิ่งที่หายไปหรือขาดไปหรือหมดไป เราควรขวนขวายหาคืนมาให้ได
2. ชิณณปฏิสังขรณา (ของเก่าของชารุด รู้จักบูรณะซ่อมแซม)
   ชิณฺณปฏิสงฺขรณา : จัดการบูรณะซ่อมแซมของเก่าของชารุด คนที่สามารถบริหารเศรษฐกิจภายในครอบครัวได้ดีและเจริญก้าวหน้านั้น จะต้องไม่ปล่อยปละละเลยทรัพย์สิ่งของที่เคยมีอยู่มีใช้ในครอบครัวให้ชารุดเสียหายทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันควรโดยไม่เหลียวแลซ่อมแซมเพื่อใช้งานได้ต่อไป ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นของส่วนตัวหรือของใช้รวมกันก็ตาม ไม่ควรดูดายในคุณค่าของทรัพย์สินที่ตนมีอยู่แล้ว โดยถือว่าเอาใหม่เมื่อไรก็ได้ กลายเป็นคนมีนิสัยสุรุ่ยสุร่าย
3. ปริมิตปานโภชนา(รู้จักประมาณในการกินการใช้)
    ปริมิตปานโภชนา : มีความพอดีในการใช้จ่ายทรัพย์สิน กล่าวคือเป็นคนรู้จักประมาณพอเหมาะพอดีมนการกินการใช้เป็นการใช้ชีวิตที่เรียกว่าสมชีวิตาไม่ตระหนี่ถี่เหนียวและก็ไม่ฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย เป็นคนมีนิสัยไม่กินทิ้งกินขว้างสร้างความสิ้นเปลืองโดยไร้ประโยชน์ ให้เข้าใจชีวิตอย่างถูกต้องว่าการอยู่กินเพื่อชีวิตที่ดีงามและมีความสุขที่แท้จริงนั้นมิใช่อยู่กินแบบขาดเงิน หรือ อยู่กินแบบ มากเกิน แต่อยู่กินด้วยความพอดีพอเหมาะแก่อัตภาพที่เป็นจริงของบุคคล ธรรมข้อนี้สอนให้เรารู้จัก เข้าใจ ยอมรับ    และดาเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสถานภาพทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของตัวเอง นั่นคือการรู้จักประมาณการกินการใช้
4. อธิปัจจสีลวันตสถาปนา (ตั้งผู้มีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน)
  อธิปจฺจสีลวนฺตสถาปนัง : แต่งตั่งคนดีมีศีลธรรมให้มีอานาจรับผิดชอบทางเศรษฐกิจของวงศ์สกุล คนดีมีศีลธรรมเป็นบุคลากรในอุดมคติที่สาคัญและจาเป็นอย่างยิ่งในกิจการระดับต่างๆ ของสังคมนับตั่งแต่เรื่องการดาเนินงานในครอบครัวเป็นต้นไป ปัจจุบันแม้เศรษฐกิจจะแสดงลักษณะว่าเจริญก้าวหน้าในทางปริมาณ แต่คนเราส่วนใหญ่ยังไม่มีสันติสุขเท่าที่ควรคุณภาพและคุณค่าทางความเป็นอยู่ของคนมิได้สอดคล้องกับปริมาณความเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้เป็นเพราะสังคมปัจจุบันสรรหาคนเก่งมากกว่าคนดีพระพุทธศาสนา
ส่งเสริมบุคคลที่มีคุณลักษณะเป็นทั้งคนดีและคนเก่งให้ได้รับโอกาสในการดาเนินงานเกี่ยวกับการเศรษฐกิจภายในบ้านหรือภายในประเทศ ความมีจิตใจเข้มแข็ง ความซื่อสัตว์สุจริตเป็นคุณสมบัติสาคัญยิ่งส่วนหนึ่งสาหรับผู้มีอานาจหน้าที่ดูแลทรัพย์สมบัติ ผู้ควบคุมและจัดการ การใช้จ่ายจะต้องตั้งอยู่ในศีล ๕ ละเว้นอบายมุขต่างๆ ที่กล่าวมานี้มิได้จากัดบุคคลว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบด้านนี้จะเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะในครอบครัวหนึ่งๆ หรือบริษัทหนึ่งๆ ของวงศ์ตระสกุล แต่หมายความชัดเจนในตรงนี้ว่าบุคคลหรือคณะบุคคลฝ่ายนี้จะต้องเป็นคนดีมีศีลธรรมและมีความรู้ความสามารถดาเนินการให้วงศ์ตระกูลจึงจะตั้ง อยู่ได้มั่นคงและยั่งยืน

กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 (ธรรมสำหรับดำรงความมั่งคั่งของตระกูลให้ยั่งยืน, เหตุที่ทำให้ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ได้นาน - reasons for lastingness of a wealthy family)

1. นัฏฐคเวสนา (ของหายของหมด รู้จักหามาไว้ - seeking for what is lost)

2. ชิณณปฏิสังขรณา (ของเก่าของชำรุด รู้จักบูรณะซ่อมแซม - repairing what is worn out)

3. ปริมิตปานโภชนา (รู้จักประมาณในการกินการใช้ - moderation in spending)

4. อธิปัจจสีลวันตสถาปนา (ตั้งผู้มีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน - putting in authority a virtuous woman or man)

เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งจะตั้งอยู่นานไม่ได้ พึงทราบโดยนัยตรงข้ามจากนี้.




       
ฆราวาสธรรม 4 (ธรรมสำหรับฆราวาส, ธรรมสำหรับการครองเรือน, หลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์
1. สัจจะ (ความจริง, ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง - truth and honesty)

2. ทมะ (การฝึกฝน, การข่มใจ ฝึกนิสัย ปรับตัว, รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา - taming and training oneself; adjustment)

3. ขันติ (ความอดทน, ตั้งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อถอย - tolerance; forbearance)

4. จาคะ (ความเสียสละ, สละกิเลส สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัว - liberality; generosity)

ในธรรมหมวดนี้ ทมะท่านมุ่งเอาด้านปัญญา ขันติท่านเน้นแง่วิริยะ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น