วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

16230-205-20 น้ำพึ่งเรือ...เสือพึ่งป่า..

น้ำพึ่งเรือ...เสือพึ่งป่า..

น้ำพึ่งเรือ...เสือพึ่งป่า หมายถึง เปรียบได้กับการที่ต่างฝ่ายต่างก็พึ่งพาอาศัยซึ่ง กันและกัน

ต้องสร้างความสมดุลย์ให้ได้ ประเทศชาติจะได้ก้าวเดินต่อไป แต่ถ้าอยู่ในวังวนเดิมๆ ก็ปล่อยให้มันเอียงยังงี้ต่อไปเรื่อยๆ หาบทสรุปในทางที่ดีที่สุด หยุดการโกงกิน คอรัปชั่น เอ้ายาวเลย ^^"

"
ปากเป็นเอก เลขเป็นโท โบราณว่า

น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า อัชฌาสัย

เราก็จิต คิดดูเล่า..เขาก็ใจ

ปลูกอื่นไย ปลูกไมตรี ดีกว่าพาล.."

16424-209-37 สังคหวัตถุ 4



สังคหวัตถุ 4 : หลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

สังคหวัตถุ 4 หลักธรรม 4 ประการที่ใช้ในการผูกมิตร ประกอบด้วย
1. ทาน หมายถึง การให้
2. ปิยะวาจะ หมายถึง การพูดจาไพเราะอ่อนหวาน
3. อัตถจริยา หมายถึง การกระทำตนให้เป็นประโยชน์
4. สมานัตตตา หมายถึง การวางตนเสมอต้นเสมอปลาย

        ท่านทั้งหลายทราบหรือไม่ว่า การที่เรามาอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นต้องปฏิบัติตนอย่างไร จึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทรงได้ให้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างเป็นสุขคือ สังคหวัตถุ 4 ซึ่งประกอบด้วยหลักธรรม 4 ข้อ ได้แก่ ทาน  ปิยวาจา  อัตถจริยา  และ สมานัตตา โดยมีรายละเอียดแต่ละข้อดังนี้


16415-209-28 กุลจิรัฏฐิติธรรม 4



กุลจิรัฏฐิติธรรม  4
กุลจิรัฏฐิติธรรม หมายถึง ธรรมสำหรับดำรงความมั่งคั่งของตระกูลให้ยั่งยืน หรือเหตุที่ทำให้ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ได้นาน ประกอบด้วย
1. นัฎฐคเวสนา หมายถึง ของหายของหมด รู้จักหามาไว้ คือเมื่อมีสิ่งของภายในบ้านสูญหายไป และอยู่ในวิสัยที่จะหามาแทนได้ ก็รู้จักหาวิธีการต่าง ๆ ให้ได้มาซึ่งสิ่งของเหล่านั้น หรือหาสิ่งของอื่น ๆ มาทดแทนไว้ เป็นต้น
2. ชิณณปฏิสังขรณา หมายถึง ของเก่าชำรุด รู้จักบูรณะซ่อมแซม คือการรู้จักบำรุงรักษาและซ่อมแซมสิ่งของที่ชำรุดที่ยังสามารถนำมาใช้ใหม่ได้ หรืออยู่ในสภาพที่ยังสามารถทำงานได้ แต่มีอุปกรณ์บางอย่างชำรุดไป ก็สามารถที่จะซ่อมแซมนำกลับมาใช้ใหม่ได้นอกจากนี้ยังหมายถึงการรู้จักนำสิ่งของที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (recycle)
3. ปริมิตปานโภชนา หมายถึง รู้จักประมาณในการกินการใช้ คือการรู้จักใช้จ่ายทรัพย์สมบัติ รู้จักการประหยัดอดออม รู้จักใช้จ่ายตามฐานะของตนเอง หรือการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับฐานะเป็นต้น
4. อธิปัจจสีลวันตสถาปนา หมายถึง ตั้งผู้มีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน คือผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวจะต้องตั้งอยู่ในหลักของ

16417-209-30 หลักกรรม(สมบัติ ๔ วิบัติ ๔)

สมบัติ ๔ วิบัติ ๔
สมบัติ 4
        สมบัติ หมายถึง ข้อดี ความเพียบพร้อม ความสมบูรณ์แห่งองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งอำนวยแก่การให้ผลของกรรมดี และไม่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล หรือส่วนประกอบอำนวยช่วยเสริมกรรมดี ประกอบด้วย
1. คติสมบัติ หมายถึง สมบัติแห่งคติ หรือถึงพร้อมด้วยคติ ในช่วงยาว หมายถึง เกิดในกำเนิดอันอำนวย หรือที่เกิดอันเจริญในช่วงสั้น หมายถึง ที่อยู่ ที่ไป ทางดำเนินดีหรือทำสิ่งที่ถูกต้อง คือในกรณีนั้น ๆ สภาพแวดล้อมนั้น ๆ ถิ่นที่อยู่นั้น ๆ ตลอดถึงแนวทางดำเนินชีวิตขณะนั้น เอื้ออำนายแก่การกระทำความดี หรือการเจริญงอกงามของความดี ทำให้ความดีปรากฏโดยง่าย
2. อุปธิสมบัติ หมายถึง สมบัติแห่งร่างกาย ถึงพร้อมด้วยรูปกาย มีรูปกายที่ดีพร้อม ในช่วงยาว หมายถึง มีการสง่า สวยงามบุคลิกภาพดี ในช่วงสั้น หมายถึง มีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี
3. กายสมบัติ หมายถึง สมบัติแห่งกาล ถึงพร้อมด้วยกาล ในช่วงยาวหมายถึง เกิดอยู่ในสมัยที่โลกมีความเจริญ หรือบ้านเมืองสงบสุข มีการปกครองที่ดี คนในสังคมอยู่ในศีลธรรม สามัคคีกัน ยกย่องคนดี ไม่ส่งเสริมคนชั่ว ในช่วงสั้น หมายถึง ทำถูกกาลเวลา
4. ปโยคสมบัติ หมายถึง สมบัติแห่งการประกอบ ถึงพร้อมด้วยการประกอบความเพียร ในช่วงยาวหมายถึง ฝักใฝ่ในทางที่ถูก นำความเพียรไปใช้ขวานขวายประกอบการที่ถูกต้องดีงาม มีปกติประกอบกิจการงานที่ถูกต้อง ทำแต่ความดีงามอยู่แล้ว ในช่วงสั้น หมายถึง เมื่อทำกรรมดี ก็ทำให้ถึงขนาด ทำจริงจัง ให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ใช้วิธีการที่เหมาะกับเรื่อง หรือทำความดีต่อเนื่องมาเป็นพื้นแล้ว กรรมดีที่ทำเสริมเข้าไปอีก จึงเห็นผลได้ง่าย

16222-205-12 มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก

มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก หมายถึง คนพูดไม่อยู่กับร่องกับรอยเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ที่เรียกว่าจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน เป็นผู้ที่คนดูถูก ใครถูกกล่าวว่าเป็นมะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก จะไม่มีใครเชื่อถือ
                                                                                                                       

16474-2010-43 สถานที่ท่องเที่ยวนอนนับดาวที่มอหินขาว




นอนนับดาว ที่มอหินขาว จังหวัดชัยภูมิ


ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติภูแลนคา เป็นกลุ่มหินขนาดใหญ่จำนวน 3 กลุ่ม โดยจะมีหินทรายก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งเป็นสีขาวและโดดเด่นในพื้นที่ และเป็นที่มาของคำว่า มอหินขาว และในบริเวณยังมีเสาหินขนาดใหญ่จำนวน 5 เสา ตั้งเรียงรายกันเป็นแถว มีความสูงประมาณ 12 เมตร นอกจากนั้นยังมีแท่นหินที่มีรูปร่างคล้ายเรือ เจดีย์ หอเอียงเมืองปิซ่า และคล้ายกระดองเต่า ซึ่งจัดเป็นกลุ่มหินที่ 1 กลุ่มหินที่ 2 อยู่ห่างออกไป แท่นหินจะมีรูปร่างแปลกแตกต่างกันออกไป และเมื่อห่างออกไปอีกประมาณ 1,500 เมตร จะเป็นกลุ่มหินที่ 3 ที่เป็นแท่นหินและเสาหินขนาดเล็ก โดยลาดเอียงขึ้นไปจดหน้าผาที่มีชื่อว่า ผาหัวนาก และบริเวณมอหินขาวยังเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิที่มาของชื่อ มอหินขาว: เดิมพื้นที่แถวนี้เป็นป่า ต่อมาได้มีคนมาบุกเบิกทำไร่ และก็เห็นมีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่ทั่วไปแต่ ก็ไม่ได้สนใจอะไร ที่ไร่มันสำปะหลัง (ในสมัยนั้น) ของลุงก็มีก้อนหินใหญ่ขึ้นทั่วไป แต่ที่ลุงเห็นว่าแปลกประหลาดมาก ก็คือก้อนหินใหญ่ 5 ก้อน ที่ในทุกคืนวันพระ (15 ค่ำ, 8 ค่ำ) จะมีแสงสีขาวส่องขึ้นมา คนเฒ่าคนแก่สมัยนั้น เลยเรียกที่นี่ว่ามอหินขาวสโตนเฮนจ์ เมืองไทย"เสาหินและแท่งหิน ที่มอหินขาวส่วนใหญ่เป็นหินทรายสีขาว นอกจากนี้ก็ยังมี หินทรายแป้ง หินโคลน หินทรายสีม่วง ซึ่งสันนิษฐานว่าก้อนหินขนาดยักษ์เหล่านี้มีอายุประมาณ 175-195 ล้านปี และเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนทรายแป้งและดินเหนียว กลุ่มหินของมอหินขาวกลุ่มที่โดดเด่นที่สุด คือ กลุ่มหินแรกที่มีเสาหินขนาดใหญ่ 5 ต้นเรียงรายกันอยู่ เสาหินเหล่านี้มีความสูงราว 12 เมตร ต้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดต้องใช้คนโอบไม่น้อยกว่า 20 คน เชื่อว่าที่นี่จะได้รับความนิยมในบ้านเราในเวลาไม่นานนัก

16409-209-21 พระรัตนตรัย

พระรัตนตรัย

ความหมายของพระรัตนตรัย
คำว่า "รัตนตรัย" มาจากคำว่า "รัตน" แปลว่า แก้วหรือสิ่งประเสริฐ กับคำว่า "ตรัย" แปลว่า สาม ฉะนั้นพระรัตนตรัย แปลรวมกันว่า แก้วสามดวง หรือ สิ่งประเสริฐสามสิ่ง ที่พุทธศาสนิกชนเคารพนับถือสูงสุดสามสิ่งนับเป็นองค์ประกอบของศาสนาพุทธ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งจัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนา 3 อย่างใน 6 อย่าง อันได้แก่
1.
ผู้ให้กำเนิดศาสนา คือพระพุทธเจ้า
2.
คัมภีร์หรือหลักคำสอน คือ พระธรรม
3.
สาวกหรือผู้สืบทอดศาสนา คือพระสงฆ์
4.
พิธีกรรมทางศาสนาหรือการประกอบพิธีทางศาสนกิจตามความเชื่อ
5.
ศาสนสถานหรือวัตถุที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา
6.
ศาสนิกชนหรือผู้เลื่อมใสในศาสนา

16609-210-45 จริยธรรม

จริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของ วิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว
ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม)
จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม


16473-210-42 จริยธรรม

คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ"
จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว
ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้

16055 201-2 นกกระจาบเจ้าปัญญา

 ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภบุตรของอุตตรเศรษฐี ผู้ออกบวชเพราะเห็นความทุกข์และโทษของการครองเรือน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกกระจาบ วันหนึ่งออกไปหากินได้ติดข่ายของนายพราน ในขณะที่ถูกจับขังไว้ที่บ้านเพื่อขาย จึงคิดหาวิธีเอาชีวิตรอดได้อย่างหนึ่งว่า
   " ถ้าเรากินอาหาร เราก็จะถูกขาย ถ้าเราไม่กินอาหาร ก็คงซูบซอม คนก็จะไม่ซื้อเรา เราก็จะปลอดภัย "
แต่นั้นมาก็ไม่กินอาหาร นกกระจาบนั้น จึงซูบผอมมีแต่หนังหุ้มกระดูก ผู้คนก็จะไม่ซื้อไปเป็นอาหาร นายพราน พอเหลือเพียงนกกระจาบโพธิสัตว์ตัวเดียว ก็จับมันออกมาจากกรง ดูว่ามันเป็นอะไรพอนายพรานเผลอเท่านั้น นกกระจาบก็บินหนีกลับไปที่อยู่ของตน เมื่อฝูงนกกระจาบซักถาม ก็ได้บอกเรื่องราวให้ทราบ แล้วกล่าวคาถาว่า
     " คนเมื่อไม่คิดก็ไม่ได้บรรลุคุณธรรมพิเศษ ท่านจงดูผลอุบายที่เราคิดแล้ว
       เราพ้นจากการถูกฆ่าและจองจำ ก็ด้วยอุบายนั้น "

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่านิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

เกิดเป็นคนควรคิดแต่สิ่งที่ดีไว้ สามารถเอาตัวรอดในยามคับขันได้

16427-209-40 อกุศลกรรมบถ 10

อกุศลกรรมบถ 10

1. ทำร้ายสิ่งมีชีวิต ฆ่าสัตว์
2. ขโมย ลักทรัพย์ ฉ้อโกง
3. ประพฤติผิดในกาม
4. โกหก หลอกลวง
5. พูดส่อเสียด ดูถูก
6. พูดหยาบ
7. พูดเพ้อเจ้อ นินทา
8. เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
9. คิดร้ายผู้อื่น ผูกพยาบาท
10. เห็นผิดจากความจริง เห็นกงจักรเป็นดอกบัว

16471-210-40 ลักษณ์ของเม่น

เม่นหางพวง
เม่นหางพวง 
Brush-tailed Porcupine 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Atherurus macrourus

ลักษณะทั่วไป
    
เป็นสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับเม่นชนิดอื่น แต่ตัวเล็กกว่า ขนบริเวณหลังยาวมากและจะค่อย ๆ สั้นลง ส่วนท้ายของลำตัวขนมีลักษณะแบน และเป็นร่องยาวอยู่ทางด้านบน เม่นหางพวงไม่มีขนตลอดทั่วทั้งหาง แต่ที่โคนหางจะมีขนสั้น ช่วงกลางหางมีเป็นเกล็ดๆ และที่ปลายหางมีขนขึ้นหนาเป็นกระจุกดูคล้ายเป็นพวง ขนดังที่กล่าวมานี้จะแบนคล้ายกระดาษและแหลมแข็ง แต่ขนที่หัว ขาทั้งสี่และบริเวณใต้ท้องเป็นขนแหลมแต่ไม่แข็ง ขาสั้น หูกลมเล็ก เท้ามีเล็บตรงทู่แข็งแรง เหมาะสำหรับขุดคุ้ยดิน
      

ถิ่นอาศัย, อาหาร
     เม่นหางพวง พบในประเทศจีนทางตอนใต้ เกาะไหหลำ อัสสัม พม่า ไทย อินโดจีน มาเลเซียและสุมาตรา สำหรับประเทศไทยพบทั่วไป แต่มีมากที่จังหวัดตรัง
     กินผัก หญ้า เผือก มัน หน่อไม้ ผลไม้ รากไม้บางชนิด กระดูกสัตว์ แมลง และเขาสัตว์

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     เม่นหางพวงพบตามป่าทั่วไป ชอบอาศัยอยู่ตามป่าใกล้น้ำ ลำธาร ลำห้วย ชอบ ขุดดินเป็นรูและเป็นโพรงชอนไปใต้ดินลึก ๆเป็นโพรงกว้าง 3–4 ฟุต ซึ่งพอสำหรับครอบครัว คือ พ่อ แม่ ลูก อยู่ได้อย่างสบาย บางครั้งขุดรูอยู่ใกล้ริมตลิ่ง ชอบออกหากินในเวลากลางคืนและไปด้วยกันหลายตัว ส่วนกลางวันมักนอนหลบซ่อนตัวในโพรงดิน หรือหลบซ่อนตัวตามรากโคนต้นไม้ใหญ่ หรือซอกหิน เม่นหางพวงวิ่งได้เร็วพอใช้ ขณะวิ่งชอบสบัดหางให้สั่นเพื่อให้เกิดเสียงขณะวิ่ง เพราะขนกระทบกันเอง เป็นการทำให้สัตว์อื่นตกใจกลัว
     เมื่อมีอายุ 2 ปีเม่นหางพวงจึงผสมพันธุ์ได้ ฤดูผสมพันธุ์ไม่แน่นอน ตั้งท้องนาน 4 เดือน ออกลูกครั้งละ 1–4 ตัว อายุยืนนาน 10 ปีเศษ

สถานภาพปัจจุบัน
     เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

สถานที่ชม
      สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

16472-210-41 ดอยอินทนนท์

 ดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อพ.ศ.2515 ประกาศเป็นอุทยานฯ เป็นลำดับที่ 6 ของประเทศไทย มีพื้นที่ 482.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่  ดอยอินทนนท์แต่เดิมดอยนี้มีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยอ่างกา"ดอยหลวง มาจากขนาดของดอยที่ใหญ่มาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "ดอยหลวง" (หลวง: เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ใหญ่)
 ดอยอินทนนท์ อดีตกาลก่อนป่าไม้ทางภาคเหนืออยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์สุดท้าย) พระองค์ให้ความสำคัญกับป่าไม้อย่างมาก โดยเฉพาะป่าในบริเวณดอยหลวง ทรงรับสั่งว่า หากสิ้นพระชนม์ลงให้นำอัฐิบางส่วนขึ้นไปสร้างสถูปบรรจุไว้บนดอย ดอยนี้จึงมีนามเรียกขานว่า "ดอยอินทนนท์" แต่มีข้อมูล บางกระแสกล่าวว่า ที่ดอยหลวงเรียกว่า ดอยอินทนนท์ นั้น เป็นเพราะเนื่องจากว่าเป็นการให้เกียรติ เจ้าผู้ครองนคร จึงตั้งชื่อจากคำว่า "ดอยหลวง" ซึ่งเป็นชื่อที่มีความซ้ำกับดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว แต่ภายหลังมีชาวเยอรมัน มาทำการสำรวจและวัด ซึ่งปรากฎผลว่า ดอยหลวง หรือดอยอ่างกา ที่อำเภอแม่แจ่มมีความสูงกว่า ดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกัน และเรียกดอยแห่งนี้ว่า "ดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ "ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์" ต่อมาได้ถูกสำรวจและจัดตั้งเป็นหนึ่งในสิบสี่ ป่าที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการเป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งครั้งแรกกรมป่าไม้เสนอ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ให้มี พื้นที่ 1,000 ตร.กม. หรือประมาณ 625,000 ไร่ แต่เนื่องจากพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ อาศัยอยู่ก่อนหลายชุมชน จึงทำการสำรวจใหม่ และกันพื้นที่ที่ราษฎร อยู่มาก่อน และคาดว่าจะมีปัญหาในอนาคตออก จึงเหลือพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 270 ตร.กม. หรือประมาณ 168,750 ไร่ ประกาศลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 และในวันที่ 13 มิถุนายน 2521 รัฐบาลประกาศพื้นที่เพิ่มอีกเป็น 482.4 ตร.กม. อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ มีความสูงจากระดับน้ำทะลปานกลาง 400-2,565.3341 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยสำหรับวัตถุประสงค์ในการกำหนดที่ดินให้ เป็นอุทยานแห่งชาติ ตาม พ... อุทยานแห่งชาติ พ.. 2504 หมวด 1 มาตรา 6

16470-210-39 ดอยสุเทพ

ดอยสุเทพ


 วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่  ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้งพร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น  มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา   ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081   สมัย เกล้าพระเมือง กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก  พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติด    ที่พระบรมธาตุในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง       เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร เป็นวัดที่ดังมาก


16255-206-1 แสดงธรรมเกี่ยวกับการช่วยชาติ



แสดงธรรมเกี่ยวกับการช่วยชาติ
โดย หลวงตามหาบัว
ช่วงนั้นเศษฐกิจไม่ค่อยจะดีนักท่านเลยรวบรวมเงิน
ทองคำให้แก่ประเทศชาติ


16104-202-18 ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก 

     นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาและรวบรวมข้อมูล เพื่อสรุปเป็นทฤษฎีอธิบายสาเหตุการเกิดของแผ่นดินไหว ในปัจจุบันทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (Plate Tectonics Theory) ได้รับการยอมรับมากที่สุด ทฤษฎีนี้พัฒนามาจากทฤษฎีว่าด้วยทวีปเลื่อน (Theory of Continental Drift) ของอัลเฟรด โลทาร์ เวเกเนอร์ (Alfred Lothar Wegener พ.ศ. 2423 - 2473 นักวิทยาศาสตร์ ชาวเยอรมัน) ซึ่งเสนอไว้เมื่อ พ.ศ. 2455 ต่อมา แฮร์รี แฮมมอนด์ เฮสส์ (Harry Hammond Hess พ.ศ. 2449 - 2412 นักธรณีวิทยา ชาวอเมริกัน) ได้เสนอแนวคิด ที่พัฒนาใหม่นี้ในทศวรรษ 2500


     ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ได้อธิบายว่า ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวเกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้ เมื่อโลกแยกตัวจากดวงอาทิตย์มีสภาพเป็นกลุ่มก๊าซร้อน ต่อมาเย็นตัวลงเป็นของเหลวร้อน แต่เนื่องจากบริเวณ ผิวเย็นตัวลงได้เร็วกว่าจึงแข็งตัวก่อน ส่วนกลางของโลกยังคงประกอบด้วยของธาตุหนักหลอมเหลว ในทางธรณีวิทยา ได้แบ่งโครงสร้างของโลกออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ เรียกว่า เปลือกโลก (crust) เนื้อโลก (mantle) และแก่นโลก (core) เปลือกโลกเป็นส่วนที่เป็นของแข็งและเปราะ ห่อหุ้มอยู่ชั้นนอกสุด ของโลก จนถึงระดับความลึกประมาณ 50 กิโลเมตร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรณีภาคชั้นนอก หรือลิโทสเฟียร์ (Lithosphere) ใต้ชั้นนี้ลงไปเป็นส่วนบนสุดของชั้นเนื้อโลก เรียกว่า ฐานธรณีภาค หรือแอสเทโนสเฟียร์ (asthenosphere) มีลักษณะเป็นหินละลายหลอมเหลวที่เรียกว่า หินหนืด (magma) มีความอ่อนตัวและยืดหยุ่นได้ อยู่ลึกจากผิวโลกลงไป 100 - 350 กิโลเมตร ใต้จากฐานธรณีภาคลงไป ยังคงเป็นส่วนที่เป็นเนื้อ โลกอยู่ จนกระทั่งถึงระดับความลึกประมาณ 2,900 กิโลเมตรจากผิวโลก จึงเปลี่ยน เป็นชั้นแก่นโลก ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชั้นย่อย คือ แก่นโลกชั้นนอก และแก่นโลกชั้นใน โดยแก่นโลกชั้นในนั้นจะอยู่ลึกสุดจนถึงจุด ศูนย์กลางของโลก ที่ระดับความลึก 6,370 กิโลเมตร จากผิวโลก
     การเกิดแผ่นดินไหวนั้น ส่วนใหญ่จำกัดอยู่เฉพาะที่ชั้นของเปลือกโลก โดยที่เปลือกโลกไม่ได้เป็นชิ้นเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากว่าเมื่อของเหลวที่ร้อนจัดปะทะชั้นแผ่นเปลือกโลก ก็จะดันตัวออกมา แนวรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกจึงเป็นแนวที่เปราะบางและเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว และ ภูเขาไฟระเบิดมาก จากการบันทึกประวัติปรากฏการณ์แผ่นดินไหว ทำให้สามารถประมาณการแบ่งของแผ่นเปลือกโลกได้เป็น 15 แผ่น คือ
     - แผ่นยูเรเชีย (Eurasian Plate)
     - แผ่นแปซิฟิก (Pacific Plate)
     - แผ่นออสเตรเลีย (Australian Plate)
     - แผ่นฟิลิปปินส์ (Philippines Plate)
     - แผ่นอเมริกาเหนือ (North American Plate)
     - แผ่นอเมริกาใต้ (South American Plate)
     - แผ่นสโกเชีย (Scotia Plate)
     - แผ่นแอฟริกา (African Plate)
     - แผ่นแอนตาร์กติก (Antarctic Plate)
     - แผ่นนัซกา (Nazca Plate)
     - แผ่นโคโคส (Cocos Plate)
     - แผ่นแคริบเบียน (Caribbean Plate)
     - แผ่นอินเดีย (Indian Plate)
     - แผ่นฮวนเดฟูกา (Juan de Fuca Plate)
     - แผ่นอาหรับ (Arabian Plate)
     แผ่นเปลือกโลกที่กล่าวมาแล้วไม่ได้อยู่นิ่ง แต่มีการเคลื่อนที่คล้ายการเคลื่อนย้ายวัตถุบนสายพานลำเลียงสิ่งของ จากผลการสำรวจท้องมหาสมุทรในช่วงทศวรรษ 2490 พบว่า มีแนวสันเขากลางมหาสมุทร รอบโลก (Global Mid Ocean Ridge) ซึ่งมีความยาวกว่า 50,000 กิโลเมตร กว้างกว่า 800 กิโลเมตร จากการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา พบว่า หินบริเวณสันเขาเป็นหินใหม่ มีอายุน้อยกว่าหินที่อยู่ในแนวถัดออกมา จึงได้มีการตั้งทฤษฎีว่า แนวสันเขากลางมหาสมุทรนี้คือ รอยแตกกึ่งกลางมหาสมุทร รอยแตกนี้เป็นรอยแตกของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งถูกแรงดันจากหินหนืดภายในเปลือกโลกดันออกจากกันทีละน้อย รอยแยกของแผ่นเปลือกโลกที่กล่าวมาแล้ว ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกต่างๆ



16369-208-24 แนะข้อคิดดำสอนจากบทกลอนสุนทรภู่ปรับใช้กับชีวิตปัจจุบัน

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ขอนำเสนอแนวคิดที่ปรากฏในกวีนิพนธ์ของท่านสุนทรภู ซึ่งมักจะสอดแทรกข้อคิด คำสอน คติพจน์ทั้งทางโลกและทางธรรม อันสะท้อนให้เราได้เห็นถึงสัจธรรมแห่งชีวิต  ซึ่งหลายๆเรื่องยังสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตในปัจจุบันได้ด้วย  อยู่ที่ว่าท่านจะประยุกต์ให้เข้ากับเรื่องใด  ดังต่อไปนี้
หากท่านเป็นชายหนุ่มที่ต้องการปฏิบัติตนเป็นคนดี และต้องการความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ท่านอาจจะเลือกคำสอนบางอย่างจาก สวัสดิรักษา อันเป็นผลงานที่ท่านสุนทรภู่ได้ดัดแปลงจากคำฉันท์โบราณที่อ่านยากให้เป็นคำกลอนที่อ่านเข้าใจง่าย  ซึ่งแต่งถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ เป็นข้อควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติของชายไทยสมัยโบราณ  ได้แก่ 

 ตื่นนอนแต่เช้า ห้ามโกรธ แล้วหันหน้าไปทางทิศตะวันออกและทิศใต้  จากนั้นเสกน้ำล้างหน้าด้วยการสวดมนต์สามครั้ง แล้วให้พูดแต่วาจาดี เพื่อให้เป็นมงคล เพราะเชื่อว่าตอนเช้า ราศีอยู่ที่หน้า

 ห้ามภรรยานอนหลับทับมือและพาดเท้า  อย่านอนข้างซ้ายผู้หญิง มักจะมีภัย

 ให้ตัดเล็บวันจันทร์หรือวันพุธ กันจัญไร

  ให้เริ่มเรียนวิชาความรู้วันพฤหัสบดี จะเจริญรุ่งเรือง

  ก่อนนอนให้แสดงความเคารพด้วยการกราบหมอนและสรรเสริญคุณบิดามารดา อาจารย์ให้เป็นปกติสม่ำเสมอ 

  ห้ามร่วมเพศกับหญิงที่มีระดู เพราะอาจทำให้ตาย ตาบอด หรือเป็นฝีเป็นหนองได้ 

  ห้ามฆ่าสัตว์ในวันเกิดจะเสียราศี มีทุกข์โศกโรคภัย  และอายุจะสั้น  ฯลฯ 

ซึ่งคำสอนเหล่านี้  แม้จะเป็นความเชื่อโบราณ หากจะพินิจพิเคราะห์ให้ดีแล้วจะพบว่า ล้วนแต่เป็นการสอนให้เป็นประพฤติปฏิบัติดีทั้งกาย วาจาและใจ อีกทั้งเป็นการสอนให้รู้จักรักษาสุขภาพอนามัย  และรู้จักระแวดระวังภัย ไม่ประมาท อย่างที่ว่า ห้ามนอนข้างซ้ายผู้หญิง เพราะสมัยก่อนผู้ชายต้องมีมีดดาบไว้ป้องกันตัว  ถ้านอนข้างซ้ายผู้หญิง หากมีขโมยหรือโจรบุก  มือขวาที่ติดกายผู้หญิงจะทำให้จับดาบไม่สะดวก และสู้โจรที่เข้ามาประชิดไม่ทันการ  เป็นต้น
นอกจากความเชื่อในสวัสดิรักษา แล้ว ในเรื่องพระอภัยมณี  สุนทรภู่ยังสอนว่า   อันรักษาศีลสัตย์กัตเวที  ย่อมเป็นที่สรรเสริญเจริญคน  ทรลักษณ์อกตัญญุตาเขา  เทพเจ้าก็จะแช่งทุกแห่งหน ให้ทุกข์ร้อนงอนหง่อทรพล พระเวทมนตร์เสื่อมคลายทำลายยศฯ และในเรื่องสิงหไกรภพ ยังบอกว่า   พระชนกชนนีเป็นที่ยิ่ง ไม่ควรทิ้งทอดพระคุณให้สูญหาย ถึงลูกเมียเสียไปแม้ไม่ตาย  ก็หาง่ายดอกพี่เห็นไม่เป็นไร ล้วนเป็นการสอนให้มีศีลมีสัตย์ และรู้จักกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีคุณและพ่อแม่ ซึ่งเป็นคุณธรรมที่จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมทุกยุคทุกสมัย เพราะทำให้สังคมโดยส่วนรวมดีขึ้นได้ ข้อสำคัญความรักของพ่อแม่นั้นไม่มีที่เปรียบได้ดังคำกลอนที่ว่า แม่รักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก  คนอื่นสักหมื่นแสนไม่แม้นเหมือน จากขุนช้างขุนแผน
ปัจจุบันเวลาไปไหนมาไหน ดูจะมีอันตรายไปหมด จนทำให้ไม่อยากออกจากบ้านไปไหนๆ แต่ถ้าจำเป็นต้องไป ก็ให้คิดถึงคำกลอนของท่านที่ว่า เมื่อถึงกรรมจำตายวายชีวี  ถึงอยู่ที่ไหนไหนก็ไม่พ้น จากสิงหไกรภพ และไม่ถึงกรรมทำอย่างไรก็ไม่ตาย  ถ้าถึงกรรมทำลายต้องวายปราณ จากพระอภัยมณี ซึ่งข้อเท็จจริงนี้อ่านแล้วคงจะช่วยให้เราคลายวิตก กลัวน้อยลง และเกิดความเชื่อมั่นขึ้นไม่มากก็น้อย
การดำรงชีวิตทุกวันนี้ ล้วนแล้วแต่มีเรื่องให้เครียด ให้ทุกข์อยู่เสมอ  ดังที่ท่านว่า อันกำเนิดเกิดมาในหล้าโลก  สุขกับโศกมิได้สิ้นอย่างสงสัย หรือวิสัยโลกโศกสุขทุกข์ธุระ ย่อมพบปะไปกว่าจะอาสัญ หรือ  อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์  ไม่รู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน  เหมือนกงเกวียนำกเกวียนเวียนระไว  จงหักใจเสียเถิดเจ้าเยาวมาลย์ จากพระอภัยมณี  หรือในสภาขุนช้างขุนแผนที่ว่า โบราณท่านสมมุติมนุษย์นี้  ยากแล้วมีใหม่สำเร็จถึงเจ็ดหน  ที่ทุกข์โศกโรคภัยร้อนค่อยผ่อนปรน คงพ้นโทษทัณฑ์ไม่บรรลัย อ่านแล้วคงจะช่วยปลอบใจเราให้ปลงตกได้บ้างว่า ในโลกนี้ไม่มีใครจะทุกข์ตลอดกาล และไม่มีใครจะสุขอยู่ตลอดชาติ 
สำหรับคำพูดนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างมิตรและก่อศัตรูให้เราได้  อีกทั้งยังเป็นเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น หากเราจะรู้จักใช้ถ้อยคำ ดังคำกลอนจากนิราศภูเขาทองที่ว่า ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์  มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร  จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา หรือจากเพลงยาวถวายโอวาทที่ว่าอันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย  แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย  เจ็บจนตายนั้นเพราะเหน็บให้เจ็บใจ  หรือจากพระอภัยมณีที่ว่า อันลมปี่ดีแต่เพราะเสนาะหู  ที่จะสู้ลมปากยากนักหนา  ทั้งหมดล้วนสอนให้ตระหนักถึงคำพูดที่จะนำมาซึ่งลาภหรือความเสื่อมลาภได้ทั้งสิ้น
ในเรื่องความรักนับว่าคำกลอนของท่าน สามารถแจงแจงและอธิบายคำว่ารักได้อย่างชัดเจนยิ่ง เช่น"เขาย่อมเปรียบเทียบความเมื่อยามรัก  แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน  ครั้นจืดจางห่างเหินไปเนิ่นนาน  แต่น้ำตาลก็ว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล และ อดอะไรจะเหมือนอดที่รสรัก  อกจะหักเสียด้วยใจอาลัยหา  ไม่เห็นรักหนักสิ้นในวิญญา จะเป็นบ้าเสียเพราะรักสลักทรวงจากพระอภัยมณี หรือจากนิราศภูเขาทองที่ว่าไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก  สุดจะหักห้ามจิตจะคิดไฉน  ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป  แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน หรือจากนิราศพระประธมที่ว่า"สารพัดตัดขาดประหลาดใจ  ตัดอาลัยตัดสวาทไม่ขาดความ  ซึ่งเป็นการบรรยายให้เราได้เห็นอาการของคนที่มีความรักว่าเป็นเช่นไร โดยเฉพาะผู้อยู่ในอาการ อันโศกอื่นหมื่นแสนในแดนโลก  มันไม่โศกลึกซึ้งเหมือนหึงผัว  ถึงเสียทองของรักสักเท่าตัว  ค่อยยังชั่วไม่เสียดายเท่าชายเชือน จากพระอภัยมณี อันสะท้อนให้เห็นว่าพิษรักแรงหึงมีผลแค่ไหนต่อคนเรา
ส่วนคำสอนอื่นๆของท่าน ที่เราได้ยินได้ฟังอยู่เสมอยังมีอีกมาก เช่น เรื่องวิชาความรู้ ท่านสอนไว้ว่า มีความรู้อยู่กับตัวกลัวอะไร  ชีวิตไม่ปลดปลงคงได้ดีหรือ วิสัยคนทนคงเข้ายงยุทธ์  ฤทธิรุทแรงร้ายกายสิทธิ์  แม้เพลิงกาฬผลาญแผ่นดินสิ้นชีวิต อำนาจฤทธิ์ย่อมแพ้แก่ปัญญาจากพระอภัยมณี  ส่วนเสภาขุนช้างขุนแผน ก็กล่าวว่า ลูกผู้ชายลายมือก็คือยศ  เจ้าจงอุตส่าห์ทำสม่ำเสมียน หรือจากเพลงยาวถวายโอวาทก็ว่าอันข้าไทได้พึ่งเขาจึงรัก  แม้นถอยศักดิ์สิ้นอำนาจวาสนา  เขาหน่ายหนีมิได้อยู่คู่ชีวา  แต่วิชาช่วยกายจนวายปราณ หรือ อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ  ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก  สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก  จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัยเป็นการสอนให้เราเห็นความสำคัญของการศึกษาหาความรู้ ที่มีผู้เปรียบว่า เป็นทรัพย์ที่ติดกายเราจนตาย  ใครก็ขโมยเอาไปไม่ได้
ทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งจากกวีนิพนธ์ของท่านสุนทรภู่ที่แม้จะประพันธ์ไว้เมื่อร่วม ๒๐๐ปีล่วงมาแล้ว  แต่ก็ยังทรงคุณค่าอยู่เสมอ  เพราะนอกจากถ้อยคำจะไพเราะสละสลวย คล้องจอง ง่ายต่อการจดจำแล้ว  ยังเป็นคำสอนที่ให้ข้อคิด และแสดงสัจธรรมของโลกที่เราสามารถนำมาใช้ได้ทุกยุคทุกสมัยตลอดมา

16188-204-21 ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับประเทศไทย

ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับประเทศไทย

จังหวัดที่อยู่เหนือสุด จังหวัดเชียงราย

จังหวัดที่อยู่ใต้สุด จังหวัดนราธิวาส

จังหวัดที่มีพื้นที่น้อยที่สุด จังหวัดสมุทรสงคราม (มีพื้นที่ 399 ตร.กม.)

จังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุด จังหวัดเชียงใหม่ (มีพื้นที่ 22,993 ตร.กม.)

จังหวัดที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด จังหวัดระนอง

จังหวัดที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด จังหวัดกรุงเทพมหานคร

จังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับเขตจังหวัดอื่นๆมากที่สุด  จังหวัดตาก มีเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นๆ 9 จังหวัด

จังหวัดทางภาคใต้ของไทย ที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลเลย  จังหวัดยะลา,พัทลุง

ยอดเขาที่สูงที่สุด ยอดดอยอินทนนท์ สูง 2,580 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ภูเขาสำคัญทางภาคเหนือ  มี 5 เทือกเขาสำคัญคือ แดนลาว,เพชรบูรณ์,ตะนาวศรี,ผีปันน้ำ,ขุนตาล

ภูเขาที่ใหญ่ที่สุดทางภาคใต้  เทือกเขานครศรีธรรมราช

เกาะที่ใหญ่ที่สุดของไทย เกาะภูเก็ต กว้าง 20 กม. ยาว 45 กม.

เกาะที่เป็นท่าเรือสำคัญของไทย  เกาะสีชัง

ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุด  ทะเลสาบสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 15 ตร.กม.

หนองน้ำที่ใหญ่ที่สุด  หนองหาร อยู่ที่จังหวัด สกลนคร

แม่น้ำที่ยาวที่สุด  แม่น้ำเจ้าพระยา รวมกับแม่น้ำปิง (หนึ่งในต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา) มีความยาวรวม 850 กม.(เจ้าพระยา 300 กม.,แม่น้ำปิง 550 กม.)

แม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลที่ จังหวัดสมุทรปราการ

คลองที่ยาวที่สุด  คลองแสนแสบ ยาว 65 กม.

แหล่งเพาะพันธุ์ปลาที่ใหญ่ที่สุด  บึงบรเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์

น้ำตกที่สูงที่สุด  น้ำตกสิริภูมิ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

ถนนสายแรกในประเทศไทย  ถนนเจริญกรุง สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5

ถนนสายที่ยาวที่สุด  ถนนเพชรเกษม จากกรุงเทพมหานคร ถึง จ.นราธิวาส ยาว1,473 กม.

ทางรถไฟสายแรกของไทย  ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปากน้ำ

ทางรถไฟสายที่ยาวที่สุด ทางรถไฟสายใต้ ยาวประมาณ 1,114 กม.

อุโมงค์ที่ยาวที่สุด  อุโมงค์ขุนตาล หรือ ถ้ำขุนตาล ที่ จ.ลำปาง

สะพานที่ยาวที่สุดของไทย สะพานติณสูลานนท์ จ.สงขลา ข้ามมาจากบ้านเขาเขียวไปเกาะยอ และจากเกาะยอไปบ้านน้ำกระจาย มีความยาว 2,640เมตร

วนอุทยานแห่งชาติที่อยู่สูงที่สุด ภูกระดึง จ.เลย

ตึกที่สูงที่สุดของไทย  ตึกใบหยกทาวเวอร์ ตึกที่สูงที่สุด เนื่องจากมีความสูงถึง 41 ชั้น

ส่วนที่แคบที่สุดของไทย  บริเวณ คอคอดกระ จ.ประจวบคีรีขันธ์ กว้างประมาณ 10กม.

จังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุด  จ.ระนอง

จังหวัดที่ปลูกชากันมาก จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่

จังหวัดที่ปลูกอ้อยมากที่สุด  จ.กาญจนบุรี

จังหวัดที่ผลิตเกลือได้มากที่สุด จ.สมุทรสาคร

จังหวัดที่ปลูกพริกไทยมากที่สุด  จ.จันทบุรี

มะพร้าวมีมากที่สุดที่  เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี

ส้มโอลือชื่อของไทยปลูกที่  อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

ดีบุกขุดได้มากที่สุดที่    จ.ภูเก็ต

จังหวัดที่ปลูกเงาะมากที่สุด  จ.จันทบุรี

เงาะโรงเรียนที่มีชื่อปลูกที่   จ.สุราษฎร์ธานี

โรงงานน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่  อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี

โรงงานอุตสาหกรรมแป้งมัน ทำมากที่สุดที่    จ.ชลบุรี

หวายของไทยมีมากที่สุดที่   จ.ชุมพร

จังหวัดที่มีแร่วุลแฟลมมากที่สุด จ.กาญจนบุรี

นกนางแอ่น มีมากที่สุดที่  จ.ชุมพร

หินอ่อนในประเทศไทยมีมากที่  จ.สระบุรี

ภาคใดของประเทศไทยมีการเลี้ยงไหมมากที่สุด  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคใดของประเทศไทยมีการเลี้ยงไหมมากที่สุด  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ถ่านหินมีมากที่   จ.ลำปาง และ จ.กระบี่

ส้มเขียวหวาน ที่นิยมกันว่ามีรสชาดดีอยู่ที่  อ.บางมด กรุงเทพมหานคร

ทองคำมีมากที่  อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์,อ.โต๊ะโมะ จ.ยะลา และ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

จังหวัดทางภาคใต้ของไทยที่มีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่มาก  จ.ปัตตานี,จ.ยะลา,จ.นราธิวาส และ จ.สตูล

ปลาที่ชาวประมงจับได้มากที่สุด  ปลาทู

ปลาที่ใหญ่ที่สุดในลำน้ำโขง  ปลาบึก

กษัตริย์ไทยพระองค์แรกท พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทยท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

สมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของเมืองไทย(กรุงรัตนโกสินทร์) สมเด็จพระสังฆราชศรี วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี

ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของไทย  เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงคนแรกของไทย  นางอรพินท์ ไชยกาล

อธิบดีหญิงคนแรกของไทย  คุณหญิงอัมพร มีศุข อธิบดีกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ

จอมพลคนแรกของเมืองไทย  จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช

นักดาราศาสตร์คนแรกของไทย  รัชกาลที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

นางสาวไทยคนแรก  นางสาวกันยา เทียนสว่าง

นักมวยไทยคนแรกที่ได้ครองตำแหน่งแชมป์โลก  นายโผน กิ่งเพชร

นักพากย์ภาพยนตร์คนแรกของไทย  นายสิน สีบุญเรือง (ทิดเขียว)

นักเขียนการ์ตูนคนแรกของไทย ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น)

ผู้คิดประดิษฐ์อักษรไทยเป็นคนแรก พ่อขุนรามคำแหง

ผู้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นคนแรก ร้อยโท เจมส์ โลว์

ผู้เริ่มใช้กระแสไฟฟ้าคนแรกของไทย  จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เติม แสงชูโต)

ผู้เปิดเดินรถเมล์ในกรุงเทพมหานครเป็นคนแรก  พระยาเศรษฐภักดี

ผู้ประดิษฐ์สามล้อขึ้นใช้ในประเทศไทยเป็นคนแรก นายเลื่อน พงษ์โสภณ

ผู้ให้กำเนิดลูกเสือไทยเป็นคนแรก รัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ผู้ริเริ่มแท็กซี่ขึ้นในเมืองไทย พลโท พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)เมื่อปี พ.ศ.2466

ผู้ที่ริเริ่มใช้คำว่า "สวัสดี" พระยาอุปกิตศิลปสาร

ผู้ให้กำเนิดเพลงชาติ พระเจนดุริยางค์ (บรรเลงครั้งแรกโดย วงดุริยางค์ทหารเรือ)

ผู้ให้กำเนิดเพลงสรรเสริญพระบารมี  กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ผู้แต่งเพลงกราวกีฬา เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย"  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งการแพทย์ไทย" สมเด็จพระราชบิดากรมหลวงสงขลานคริทร์

ฝาแฝดคู่แรกของไทย  ฝาแฝด อิน-จัน เกิดเมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2434 ที่ จ.สมุทรสงคราม

ผู้ที่ริเริ่มใช้ รศ.(รัตนโกสินทร์ศก) รัชกาลที่5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ร.ศ.1 ตรงกับปี พ.ศ.ใด พ.ศ.2331

เรือกลไฟลำแรกของไทย เรือสยามอรสุมพล (เป็นเรือที่รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้พระยาศรีสุริยวงศ์ ต่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2398)

โรงพยาบาลแห่งแรกของไทย โรงพยาบาลศิริราช

มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของประเทศไทย โรงเรียนอนุบาลที่โรงเลี้ยงเด็ก ซึ่งพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ พระอัครชายาในรัชกาลที่5 เป็นผู้ให้กำเนิด

ธนาคารเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย แบงก์ สยามกัมมาจล

โรงภาพยนตร์โรงแรกใน กทม.ที่ฉายภาพยนตร์จอซีนีมาสโคป  โรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมไทย

โรงแรมแห่งแรกของไทย โรงแรมโอเรียนเต็ล

โรงพิมพ์แห่งแรกของไทย  โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ ตั้งอยู่ที่สำเหร่ ธนบุรี

บทประพันธ์ที่ทำการขายลิขสิทธิ์กันในครั้งแรกในประเทศไทย เรื่อง นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย ขายลิขสิทธิ์ให้กับหมอบรัดเลย์

แบบเรียนเล่มแรกของคนไทย หนังสือจินดามณี ที่พระโหราธิบดี เป็นผู้แต่ง

หนังสือไทยเล่มแรก หนังสือไตรภูมิพระร่วง

หนังสือพิมพ์ข่าวฉบับแรกของเมืองไทย หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอดเดอร์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ.2387

ปฎิทินฉบับภาษาไทย จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ.2385

วิทยุ โทรทัศน์ มีขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ  ปี พ.ศ.2497(สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม)

สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทย  สถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม (ปัจจุบันคือ อสมท.ช่อง9)

โรงเรียน "หลวง" สำหรับราษฎรแห่งแรก คือ โรงเรียน วัดมหรรณพาราม

สภากาชาด ตั้งขึ้นเมื่อไหร่  ตั้งขึ้นในรัชกาลที่6 เดิมชื่อ สภาอุณาโลมแดง

เจดีย์ที่เก่าแก่ และใหญ่ที่สุด พระปฐมเจดีย์ ที่ จ.นครปฐม

พระปรางค์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย  พระปรางค์ที่วัดอรุณราชวราราม(วัดแจ้ง ธนบุรี)

พระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดของไทย พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ประดิษฐานที่วัดไตรมิตรวิทยาราม กทม.(หนัก 5 ตัน)

พระพุทธไสยาสน์ ที่ยาวที่สุด  พระพุทธไสยาสน์ ที่วัดพระนอน จ.สิงห์บุรี

พระพุทธรูปยืนที่สูงที่สุด  พระพุทธรูปยืนที่วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพฯ

พระนอนที่ยาวที่สุด พระนอนที่วัดขุนอินทรประมูล จ.อ่างทอง

พระพุทธรูปนั่งที่ใหญ่ที่สุด  พระพุทธโคดม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี

วัดที่มีระฆังใบใหญ่ที่สุด วัดกัลยากรณ์ กรุงเทพมหานคร

วัดที่ไม่มีพระจำพรรษาเลย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

จังหวัดที่เคยมีรถรางเดินประจำนอกจากกรุงเทพฯแล้วคือ   จ.ลพบุรี

วัดไทยที่สร้างเลียนแบบวัดฝรั่ง  วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ บางปะอิน จ.อยุธยา (รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น)

กระทรวงต่างๆมีขึ้นในรัชกาลใด รัชกาลที่ 5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตยเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี พ.ศ.2475 ในรัชกาลที่ 7

ประเทศไทยเริ่มใช้ธงไตรรงค์เมื่อ  ปี พ.ศ.2460

ประเทศไทยเริ่มนับเอาวันที่ 1 เดือนมกราคมเป็นวันปีใหม่เมื่อ  ปี พ.ศ.2483

ประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติเมื่อ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2489

ประเทศไทย เปลี่ยนจากเดิมเรียกว่า "ประเทศสยาม" มาเป็น "ประเทศไทย" เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2492

ประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยนั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ประเทศไทยเลิกใช้เงินพดด้วงแล้วเริ่มใช้เหรียญกษาปณ์ ในสมัยรัชกาลที่ 4

กระทรวงการคลัง เริ่มออกพันธบัตรใช้ตั้งแต่รัชกาลที่ 5

คนไทยเริ่มใช้นามสกุลในสมัยรัชกาลที่ 5

การประปาเริ่มมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5

สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เปิดสัญจร ไป-มา เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2475

พระราชวังสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานีคือพระราชวังเดิม อยู่ระหว่างวัดอรุณราชวราราม กับวัดโมฬีโลกยาราม

เขาพระวิหาร เดิมตั้งอยู่ที่ อ.กันทราลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ

เครื่องหมายตราประจำชาติไทยคือตราครุฑ

ประเพณีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา เริ่มมีครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ประเทศไทยเริ่มใช้แสตมป์เมื่อปี พ.ศ.2474

ผู้ที่เปลี่ยนชื่อ "ทุ่งพระเมรุ" เป็น "ท้องสนามหลวง" คือรัชกาลที่ 5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

คิงส์มงกุฎ หมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เจ้าของนามปากกา "น.ม.ส." คือรัชนี แจ่มจรัส

คำว่า พระปรมินทร์ และ พระปรเมนทร์ มีที่ใช้ต่างกันอย่างไร
พระปรมินทร์ ใช้กับ ลำดับรัชกาลที่เป็นเลขคี่
พระปรเมนทร์ ใช้กับ ลำดับรัชกาลที่เป็นเลขคู่

กฎมณเฑียรบาล คือกฎหมายพิเศษที่กล่าวถึง พระราชฐาน และพระราชวงศ์

ใครเป็นผู้ประพันธ์ บทเห่เรือ ที่ใช้เห่เรือกระบวนหลวงในปัจจุบัน
เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์(เจ้าฟ้ากุ้ง)

กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเมื่อใด
 ปี พ.ศ.2325

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) สร้างขึ้นในรัชสมัยใด
 รัชกาลที่ 1 (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)

สถาบันที่จัดทำสารานุกรมไทย และพจนานุกรมไทยคือ
 ราชบัณฑิตยสถาน

นายกรัฐมนตรีไทยคนใดที่ตกเป็นจำเลย "อาชญากรสงครามโลกครั้งที่2
 จอมพล ป.พิบูลสงคราม

นายกรัฐมนตรีที่เป็นทนายต่อศาลโลก กรณีเขมรฟ้องร้องขอกรรมสิทธิ์เขาพระวิหารคือ
 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

หัวหน้าขบวนการเสรีไทย นอกประเทศระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

กบฎแมนฮัตตัน เกิดขึ้นในรัฐบาลใด
 รัฐบาลสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เกิดขึ้นในวันที่มีพิธีรับมอบเรือแมนฮัตตัน จากสหรัฐอเมริกา ที่ท่าราชวรดิษฐ์

"อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ"สร้างขึ้นเพื่อ
 เป็นอนุสรณ์รำลึกถึงวันที่ทหารและพลเรือนเสียชีวิตในสงครามอินโดจีน ปี พ.ศ.2484

"วงเวียน 22 กรกฎาคม" สร้างขึ้นเพื่อ
 เป็นอนุสรณ์เนื่องในวันที่ประเทศไทย ประกาศสงครามเข้าร่วมกับพันธมิตร รบกับเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่1

ปืนใหญ่สมัยโบราณ ที่ตั้งรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมีจำนวนเท่าไร
 75 กระบอก